การประชุมวิชาการ
หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ให้ความรู้ด้านเบาหวาน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ชื่อการประชุม หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ให้ความรู้ด้านเบาหวาน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-055-08-2560
สถานที่จัดการประชุม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
วันที่จัดการประชุม 01 ก.ย. 2560 - 24 พ.ย. 2560
ผู้จัดการประชุม ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ นักก้าหนดอาหาร เภสัชกร นักสุขศึกษา
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 77 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การรักษาโรคเบาหวานให้มีประสิทธิภาพนอกจากการใช้ยาลดระดับน้้าตาลแล้ว การให้ความรู้แก่ผู้เป็นเบาหวานโดยมุ่งหวังให้ผู้ปุวยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นมีส่วนส้าคัญมากในการรักษาเบาหวาน โดยในต่างประเทศการให้ความรู้และสร้างทักษะให้กับผู้เป็นเบาหวานเป็นหน้าที่ของบุคลากรผู้ให้ความรู้ด้านเบาหวานโดยเฉพาะ (diabetes educator) แต่ในประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรผลิตผู้ให้ความรู้ด้านเบาหวานที่ชัดเจน หลักสูตรนี้จัดท้าขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตผู้ให้ความรู้ด้านเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ก้าลังเป็นปัญหาส้าคัญทั่วโลก ประเทศไทยพบผู้เป็นเบาหวานจ้านวนมากถึง 3.2 ล้านคนหรือคิดเป็น 6.4% ของประชากรไทย1 โดยโรคเบาหวานก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวานเป็นสาเหตุส้าคัญที่ท้าให้เกิดการสูญเสียสายตาของประชากรวัยท้างาน เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของภาวะไตวายเรื้อรังในประชากรไทย และเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการตัดเท้าหรือตัดขา ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ยังก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบและหลอดเลือดหัวใจตีบ2 นอกจากนี้ เบาหวานยังเป็นสาเหตุการตายที่ส้าคัญของประชากร ส่งผลให้ประเทศต่างๆทั่วโลกใช้จ่ายงบประมาณจ้านวนมากในการดูแลรักษาโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดขึ้น การควบคุมระดับน้้าตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ และยังลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 23-5 การรักษาเพื่อควบคุมระดับน้้าตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมนั้น นอกจากการใช้ยาลดระดับน้้าตาลแล้ว ความร่วมมือจากผู้เป็นเบาหวานในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุมอาหาร ออกก้าลังกาย การรับประทานยาหรือฉีดยาอย่างสม่้าเสมอ ถือเป็นปัจจัยส้าคัญในการรักษาโรคเบาหวาน แนวทางเวชปฏิบัติส้าหรับโรคเบาหวานทั้งของไทยและต่างประเทศชี้ให้เห็นว่าการให้ความรู้ในการจัดการตนเองด้านเบาหวาน (diabetes self-management education, DSME) เป็นส่วนส้าคัญในการดูแลผู้เป็นเบาหวาน โดยผู้เป็นเบาหวานทุกคนควรได้รับ DSME ตั้งแต่แรกวินิจฉัยและควรได้รับค้าแนะน้าและการสนับสนุนในการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง (diabetes self-management education and support: DSME&S) จากทีมบุคลากรทางการแพทย์6, 7 การศึกษาแบบ meta analysis8 ในต่างประเทศแสดงให้เห็นว่าการได้รับ DSME ส่งผลให้ระดับน้้าตาลสะสมหลังเข้าร่วมกิจกรรมลดลงประมาณ 0.76% แม้ว่าระดับน้้าตาลสะสมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในภายหลัง จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความคุ้มค่าของการให้ DSME ในช่วงเวลา 15 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2534-2549 พบว่า ร้อยละ 70 ของการศึกษาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการให้ DSME สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเบาหวานได้10 จะเห็นได้ว่า การให้ความรู้ในการจัดการตนเองด้านเบาหวานมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้้าตาลและมีความคุ้มค่าในด้านเศรษฐกิจ
เนื่องจากการให้ความรู้ การสร้างทักษะแก่ผู้เป็นเบาหวานจนสามารถน้าความรู้ไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง จ้าเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานขั้นสูง (Advance) มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทักษะการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching) และเป็นกระบวนการที่ใช้เวลามาก ในต่างประเทศการให้ DSME&S จึงเป็นหน้าที่ของบุคลากรผู้ให้ความรู้ด้านเบาหวาน (diabetes educator) โดยเฉพาะโดยในต่างประเทศจะมีหลักสูตรอบรมผู้ให้ความรู้ด้านเบาหวานที่ได้มาตรฐาน และมีการจัดสอบโดยสถาบันกลางของประเทศ ซึ่งแตกต่างจากบริบทของประเทศไทยที่ผ่านมา ที่มีการจัดอบรมผู้ให้ความรู้ด้านเบาหวานเป็นการอบรมระยะสั้นซึ่งไม่เพียงพอในการสร้างทักษะด้านต่างๆที่กล่าวข้างต้น
ดังนั้นศูนย์เบาหวานศิริราชเห็นถึงความจ้าเป็นในการผลิตบุคลากรผู้ให้ความรู้ด้านเบาหวานที่มีความรู้และทักษะขั้นสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ จึงได้ร่วมกับสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชศาสตร์และฝุายการพยาบาล จัดท้าหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ให้ความรู้ด้านเบาหวาน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (Certified diabetes educator Program Faculty of Medicine Siriraj Hospital) ขึ้น
วัตถุประสงค์
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว ผู้ส้าเร็จการศึกษาจะมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความรู้และความช้านาญขั้นสูงในการถ่ายทอดความรู้ด้านเบาหวานและสามารถสร้างทักษะในการจัดการตนเองให้กับผู้เป็นเบาหวานและครอบครัว
2. สามารถน้าทฤษฎีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทฤษฎีด้านการเรียนการสอนมาใช้เพื่อให้ผู้เป็นเบาหวานมีทัศนคติที่ดีจนน้าไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น
3. ความรู้ด้านการวิจัยเบื้องต้นสามารถสืบค้นความรู้อย่างต่อเนื่องจากงานวิจัยต่างๆเพื่อน้ามาประยุกต์ใช้กับผู้เป็นเบาหวานในการจัดการตนเอง
4. มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณที่ดีแห่งวิชาชีพในการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ
ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง, เบาหวาน
วิธีสมัครการประชุม
ติดต่อฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช