การประชุมวิชาการ
ปาฐกถาพิเศษ “เดินตามรอยเท้าพ่อ” จากงานวิจัยยา สู่จิตอาสาเพื่อมวลมนุษย์
ชื่อการประชุม ปาฐกถาพิเศษ “เดินตามรอยเท้าพ่อ” จากงานวิจัยยา สู่จิตอาสาเพื่อมวลมนุษย์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-2-000-010-09-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
วันที่จัดการประชุม 10 ก.ย. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายรวม 1000 คน ประกอบด้วย 1. นิสิต มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 800 คน 2. อาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัย จำนวน 100 คน 3. บุคลากรสาธารณ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน เป็นปณิธานของมหาวิทยาลัยพะเยา ที่มุ่งเน้นการนำปัญญาความรู้ มาพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยอาศัยการทำงานหลายๆ ด้านร่วมกัน ปัจจุบันชุมชนในพื้นที่จังหวัดพะเยามีการปลูกพืชสมุนไพรจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถสร้างรายได้ให้ครัวเรือนได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นการทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรจะช่วยต่อยอดให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์และตรงความต้องการของตลาด หรือเกิดนวัตกรรมในชุมชนได้ อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัย และบุคลากรสาธารณสุข จึงจำเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและเป็นแนวทางในการทำวิจัยเชิงประยุกต์ ตลอดจนนิสิตควรได้รับปลูกจิตสำนึกของ การนำความรู้ที่เรียนมาพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ยาวนานและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในด้านการพัฒนายาและการทำธุรกิจเพื่อชุมชน (Social Enterprise) คือ ศ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
ศ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ในประเทศไทย จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการผลิตยาสามัญชื่อ \"ยาเอดส์\" เป็นครั้งแรกในโลก ในปี พ.ศ. 2538 โดยประสบความสำเร็จในการผลิตยาชนิดแรกคือ \"ZIDOVUDINE\" (AZT) มีฤทธิ์ในการลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ภายหลังการค้นคว้าวิจัยต่อยากว่า 3 ปี (พ.ศ. 2536 - 2538) หลังจากนั้น ได้ริเริ่มผลิตยาอีกหลายชนิด โดยเฉพาะยา \"GPO-VIR\" หรือยาต้านเอดส์สตรีคอกเทลล์ ซึ่งเป็นการรวมตัวยารักษาโรคเอดส์กว่า 3 ชนิดในเม็ดเดียวเป็นครั้งแรกในโลก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 องค์การอนามัยโลกเชิญกฤษณาไปที่ทวีปแอฟริกาเพื่อช่วยเหลือด้านเภสัชกรรม หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2545 กฤษณาจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม
ภายหลังลาออกจากสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรมแล้วนั้น ได้เดินทางไปยังประเทศคองโกโดยลำพัง เพื่อตั้งโรงงานเภสัชกรรมแห่งแรกที่นั่น ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 3 ปี และประสบความสำเร็จในการผลิตยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ชื่อ \"Afrivir\" อันมีส่วนผสมของตัวยาเหมือนยาในประเทศไทย ซึ่งผลิตขึ้นได้ครั้งแรกในทวีปแอฟริกา ในปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นได้เดินทางไปช่วยเหลืองานทางเภสัชกรรม ณ ประเทศแทนซาเนีย โดยสามารถวิจัยและผลิตยา \"Thai-Tanzunate\" ในประเทศแทนซาเนียได้สำเร็จ อันเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งเป็นโรคระบาดในทวีปแอฟริกา และเดินทางช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ได้แก่ ประเทศอิริคเทอร์เรีย ประเทศเบนิน และประเทศไลบีเรีย

ศ.ดร. กฤษณา ทำงานตามตารางงานของกระทรวงการต่างประเทศซึ่งไม่มีความแน่นอน ในวันหนึ่งๆ อาจพักแรม ณ ประเทศหนึ่งและทำงานในอีกประเทศหนึ่ง ผลงานการทำงานของเธอได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เยอรมันฉบับหนึ่ง ทำให้มีบุคคลสนใจในงานของท่าน และได้มีการนำไปสร้างภาพยนตร์เรื่อง อะไรต์ทีลีฟ - เอดส์เมดิเคชันออฟมิลเลียนส์ (อังกฤษ: A Right to Live - Aids Medication for Millions) ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งได้รับรางวัลเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์กว่า 3 รางวัล รวมถึงการสร้างภาพยนตร์บรอดเวย์สหรัฐอเมริกาชื่อ คอกเทลล์ (อังกฤษ: Cocktail) ในเปิดแสดงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (อังกฤษ: Global Scientist Award) จากมูลนิธิเลตเต็น ประเทศนอร์เวย์ ประจำปี พ.ศ. 2547 รางวัลบุคคลแห่งปีของเอเชียประจำปี พ.ศ. 2551 รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และรางวัลแมกไซไซสาขาบริการสาธารณะประจำปี พ.ศ. 2552
ศ.ดร.กฤษณา ยังได้รับปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิติตมาศักดิ์จากวิทยาลัย Mount Holyoke สหรัฐอเมริกา และเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัย สตราห์ไคลด์ ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนราชินี นักศึกษาเก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบัน เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต และยังคงทำงานช่วยเหลือด้านเภสัชกรรมแก่ประเทศในแอฟริกา รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาองค์กรช่วยเหลือด้านยาของเยอรมนี
คณะเภสัชศาสตร์ ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จึงจัดประชุมวิชาการเพื่อสร้างแนวคิด แรงบันดาลใจ และแนวทางในการทำงานวิจัยที่มีประโยชน์ทั้งนักวิจัย และชุมชน เพื่อประยุกต์ใช้ให้แก่ชุมชนอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างแรงบันดาลใจการทำวิจัยเพื่อชุมชน
2. เพื่อเป็นแนวทางการทำวิจัยเชิงประยุกต์ โดยพัฒนาสมุนไพรในพื้นที่ ให้เกิดเป็นยา ผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรม ที่สามารถส่งเสริมเศรษฐกิจ เพิ่มคุณภาพชีวิต และทำให้ชุมชนเข้มแข็ง
คำสำคัญ
Research, drug development, social entrepreneur, herb product