การประชุมวิชาการ
งานประชุมวิชาการ มูลนิธิอายุรกรรมพระมงกุฎเกล้า วันที่ 19 มกราคม 2561 ห้อง Rainbow Hall ชั้น 17 โรงแรมใบหยก
ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการ มูลนิธิอายุรกรรมพระมงกุฎเกล้า วันที่ 19 มกราคม 2561 ห้อง Rainbow Hall ชั้น 17 โรงแรมใบหยก
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-2-000-004-01-2561
สถานที่จัดการประชุม ณ ศูนย์ประชุม โรงแรมใบหยก กรุงเทพ
วันที่จัดการประชุม 19 -21 ม.ค. 2561
ผู้จัดการประชุม ภาควิชาอายุรศาสตร์ กองการศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
กลุ่มเป้าหมาย อายุรแพทย์โรคไต อายุรแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป พยาบาลไตเทียม พยาบาลไตเรื้อรัง เภสัชกร นักกำหนดอาหารและผู้สนใจ จำนวนจำกัด 700 ท่าน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
มูลนิธิอายุรกรรมพระมงกุฎเกล้าเป็นองค์กรการกุศลสาธารณะ มีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยโรคไต โดยอายุรศาสตร์โรคไตเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของการศึกษาทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และการรักษา โดยการใช้ยาและการปรับพฤติกรรมร่วม เนื่องจากความเจริญทางการแพทย์ และด้วยวิวัฒนาการของการรักษา ทำให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมีอายุยืนยาวมากขึ้น ในขณะเดียวกันการป้องกันโรคและการชะลอโรค หรือการรักษาคุณภาพ ชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ การเลือกวิธีการบริโภค การใช้ยา การลดน้ำหนักและการออกกำลัง เป็นวิธีที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าสามารถใช้ร่วมในการรักษาโรคได้จริง แต่ในขณะเดียวกัน มีภาวะแทรกซ้อนที่บั่นทอน คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในสภาวะดังกล่าวแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ พยาบาล เภสัชกร และนักกำหนดอาหาร หรือแม้แต่ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการช่วยผู้ป่วยมีความเข้าใจถึงการดำเนินโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มูลนิธิอายุรกรรมพระมงกุฎเกล้าจึงได้จัดประชุมวิชาการในหัวข้อ the wizarding academy of multidisciplinary nephrology ขึ้น โดยมีรูปแบบการจัดงานในหัวข้อการดูแลผู้ป่วยแบบบูรณาการโดยสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกรและนักกำหนดอาหาร ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคลินิกโรคไตเรื้อรัง หรือดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย บรรยายโดยวิทยากรแผนกโรคไต แผนกโภชนศาสตร์คลินิก และแผนกต่างๆ ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า นอกจากนี้ ได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสหสาขา จากสถาบันการศึกษาภายในประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ โดยในช่วงวันแรกเน้นเรื่องของอาหาร พฤติกรรมและการเกิดโรคหรือโรคแทรกซ้อน ในวันที่สองเป็นเรื่องของพยาธิวิทยา ของการเกิดโรค และกลุ่มอาการทางคลินิก ส่วนในวันสุดท้ายเน้นการลงมือปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยเฉพาะโรค เช่น การศึกษาจากกล้องจุลทรรศน์ หรือ การเลือกใช้สารอาหารให้ถูกต้องและคุ้มค่ากับผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย
ทั้งนี้กิจกรรมที่จัดขึ้นได้รับความร่วมมือจากกองการศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศ ไทย สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย สมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย และกลุ่มเภสัชกรผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไต (ประเทศไทย)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการและเผยแพร่ความรู้อายุรศาสตร์โรคไต โภชนศาสตร์คลินิก ให้แก่อายุรแพทย์โรคไต อายุรแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป พยาบาล เภสัชกรและนักกำหนดอาหาร
2. เพื่อสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้รับจากการทดลองลงมือปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย
3. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสาขาวิชาชีพ
4. สร้างความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างสาขาวิชาชีพ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ส่วนรวม
คำสำคัญ