การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการคณะเภสัชศาสตร์ประจำปี 2561 Integrative Pharmacist: Herbal Medicine and Nutraceutical for Future Health Care
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการคณะเภสัชศาสตร์ประจำปี 2561 Integrative Pharmacist: Herbal Medicine and Nutraceutical for Future Health Care
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-007-03-2561
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมบุรีศรีภูบูติคโฮเทล และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่จัดการประชุม 16 -17 มี.ค. 2561
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรทั่วประเทศ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 8.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
จากการผลักดันของสภาเภสัชกรรมทำให้ปัจจุบันนี้การศึกษาต่อเนื่องมีบทบาทมากขึ้นในวิชาชีพเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสมาคมศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เล็งเห็นว่าเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งที่เภสัชกรพึงมี และการเรียนรู้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียนภายใต้หลักสูตรปริญญาบัตรเท่านั้น จึงได้จัดประชุมวิชาการประจำปีมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงประชาชนที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ซึ่งองค์ความรู้ใหม่ และถือเป็นบทบาทหลักในการเป็นที่พึ่งให้กับชุมชนด้านวิชาการ นอกจากจะเป็นการเพิ่มพูนทักษะความรู้ใหม่ๆให้กับเภสัชกรแล้ว ยังเป็นประโยชน์ในการสื่อสารระหว่างคณะกับศิษย์เก่า และให้ศิษย์เก่าได้มีความผูกพันกับคณะเภสัชศาสตร์มากขึ้นอีกด้วย ในปี 2561 นี้ ทางคณะผู้จัดงานได้กำหนดหัวข้องานประชุมคือ Integrative Pharmacist: Herbal Medicine and Nutraceutical for Future Health Care โดยจัดในระหว่างวันที่ 16-17 มี.ค. 2561 เพื่อให้เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในสาขาต่างๆ ในวันนี้ ได้เตรียมพร้อมต่อนโยบายของประเทศและการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากประเทศไทยได้กำหนดให้สมุนไพรเป็นนโยบายหลัก ของการพัฒนาประเทศ หน้าที่ของเภสัชกรที่มีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสมุนไพรของประเทศ รวมถึงการใช้ยาสมุนไพรที่กำลังเพิ่มขึ้นในโรงพยาบาล นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคและมีจำนวนผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก เภสัชกรจึงควรมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริง การรู้จักและกล้าใช้สมุนไพรในการป้องกัน บำบัดรักษาโรค รวมถึงการแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และให้คำแนะนำทางโภชนาการที่เหมาะสมกับผู้ที่มีภาวะโรคต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เภสัชกรในสาขาต่างๆ ควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น
วัตถุประสงค์
1. ให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับบทบาทของเภสัชกรในการพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพร การใช้ยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
2. ส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องของเภสัชกรในประเทศ
3. นำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสนับสนุนการสร้างอาคาร 6 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คำสำคัญ
็Herbal medicine, Dietary supplement, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ยาสมุนไพร
วิธีสมัครการประชุม
ท่านสามารถติดตามรายละเอียด และข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการจัดประชุมวิชาการได้ทางเว็บไซด์ http://regist.pharmacy.psu.ac.th/conference2561/