การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ อย. เรื่อง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ อย. เรื่อง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-2-000-007-03-2561
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุมอาคาร 4 ชั้น 6 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
วันที่จัดการประชุม 08 มี.ค. 2561
ผู้จัดการประชุม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และผู้ที่สนใจ จำนวนประมาณ 200 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
คำว่า ALS ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Sclerosis โรค ALS ไม่ใช่โรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง โดยที่เซลล์ประสาทนำคำสั่งเหล่านี้ค่อยๆเกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด และเนื่องจาก ALS เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง (motor neuron disease; MND) หรือ โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม” ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะรู้จักโรคนี้ในนามของโรค ลู-เก-ริก (Lou Gehrig Disease) ซึ่งตั้งชื่อโรคตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้ในปี 1930 สาเหตุของโรค ALS ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเหตุใดเซลล์ประสาทนำคำสั่งจึงเกิดการเสื่อม โดยสมมติฐานเชื่อว่า ALS เกิดจากหลายเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกัน ได้แก่ การมีปัจจัยบางอย่างทางพันธุกรรมซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดที่ทำให้มีเซลล์ประสาทนำคำสั่งมีโอกาสเสื่อมได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง สาร โลหะหนัก รังสีหรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิดมาช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้เซลล์ประสาทนำคำสั่งเกิดการทำงานผิดปกติ ร่วมกับอายุที่สูงขึ้นตามกาลเวลาทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ อันเนื่องมาจากแบตเตอรี่ที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ที่เรียกว่า ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) มีความผิดปกติ แต่สมมติฐานเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์แน่ชัด
ในทัศน์แพทย์แผนไทย อาการของโรคที่กล่าวมานั้น แสดงถึง ภาวการณ์ติดขัดของพลัง ปิตตะ วาตะ เสมหะ อยู่ในกองลมพิกัด ลมอโธคมาวาตา หรือเกิดจากพิษของ ปิตตะ วาตะ เสมหะ ที่คั่งค้างอยู่ในกองลมดังกล่าว ส่งผลให้ขาดพลังในการขับเคลื่อนของลมอโธคมาวาตา จึงแสดงอาการต่าง ๆ ดังกล่าวออกมา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS ด้วยศาสตร์และวิธีการบำบัดรักษาด้วยการแพทย์แผนไทย
2. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปอธิบายในขั้นต้นให้กับผู้อื่น อันเป็นการป้องกันการเป็นโรคได้วิธีหนึ่ง
3. เพื่อให้เภสัชกรพัฒนาความรู้และความเข้าใจในกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS และการอุบัติการสำคัญของโรคในทัศนะของการแพทย์แผนไทย
คำสำคัญ
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS, ศาสตร์การแพทย์แผนไทย
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนออนไลน์ ภายในวันที่ 6 มีนาคม 2561 รับจำนวน จำกัด 200 คนเท่านั้น