การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการเรื่อง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามครั้งที่ 2: การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางเพื่อการตกแต่ง
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการเรื่อง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามครั้งที่ 2: การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางเพื่อการตกแต่ง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-002-06-2561
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุมกิ่งทอง โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 28 -29 มิ.ย. 2561
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการ นักวิจัย และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 4 จังหวัด คือ จ.อุบลราชธานี จ.อำนาจเจริญ จ.ศรีษะเกษ และ จ.ยโ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 10 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ธุรกิจผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและความงาม เป็นธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตและ ขยายอย่างต่อเนื่องทุกปี การบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคนในยุคปัจจุบัน ต่างให้ความสนใจใส่ใจเกี่ยวกับสุขภาพ ความงาม และผิวพรรณ รวมทั้งการดูแลตัวเองมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้ธุรกิจด้านความงาม คลินิกดูแลรักษาผิวพรรณ เครื่องสำอาง จึงเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับกับความต้องการที่สูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้ทำการจัดอันดับ 10 ธุรกิจที่โดดเด่น โดยประเมินจาก ปี 2554-2557 พบว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม อาทิ อาหารเสริม เครื่องสำอาง เป็นธุรกิจอันดับ 1 ติดต่อกัน ตลาดเครื่องสำอางในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมามีการเติบโตแบบก้าวกระโดดเฉลี่ย 18% ต่อปี โดยมีมูลค่าตลาดรวม 2.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 60% มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท และตลาดส่งออก 40% มูลค่า 9 หมื่นล้านบาท จากข้อมูลสำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเทศไทยมีผู้ประกอบการผลิตเครื่องสำอางจำนวนมากกว่า 8,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่ยังขาดความรู้ในเรื่องของกฎระเบียบและเทคโนโลยีใหม่ในการผลิต ขณะที่ภายหลังจากการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 คาดว่าธุรกิจเครื่องสำอางจะแข่งขันกันรุนแรง โดยเป็นที่คาดหมายว่าในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะส่งผลให้เครื่องสำอางจากต่างประเทศทยอยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมากขึ้น นำไปสู่สภาวะการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล เพิ่มสูงขึ้นทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดนอกประเทศ และทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการการผลิตเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานและให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาศาตสตร์แห่งเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีภารกิจในการขัดการเรียนการสอน การวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้จัดประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางในประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็น ระหว่าง ผู้ประกอบการ นักวิชาการ และประชาชนผู้สนใจ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทราบระเบียบและมาตรฐานในการผลิตลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง
2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแก่ผู้ประกอบการ
3. เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมและนักวิชาการ
คำสำคัญ