การประชุมวิชาการ
การอบรมวิชาการ เรื่อง รู้ทันการสูงวัย: การดูแลหัวใจและปอด (Smart aging: heart and Lung)
ชื่อการประชุม การอบรมวิชาการ เรื่อง รู้ทันการสูงวัย: การดูแลหัวใจและปอด (Smart aging: heart and Lung)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-024-05-2561
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุม 206 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่จัดการประชุม 08 -09 พ.ค. 2561
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร พยาบาล บุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้ดูแลสูงอายุ ผู้สูงอายุ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 11.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 เนื่องจากมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 10 ของประชากรสูงอายุ และมีการคาดประมาณว่าในปีพ.ศ. 2564 จะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 20 จากเอกสารประมวลสถิติด้านสังคมปี 59 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า ในปีพ.ศ. 2558 ประชากรไทยมีจำนวน 65.1 ล้านคน เป็นประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 11 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16 ของประชากรทั้งหมด และเมื่อเปรียบเทียบผู้สูงอายุไทยกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเป็นอันดับ 2 ของประเทศในกลุ่มอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 18 ส่วนประเทศที่มีสัดส่วนประชากรสูงอายุมากที่สุดในโลก คือ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 33 % และโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ ได้แก่ ข้ออักเสบข้อเสื่อมร้อยละ 23 โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตายร้อยละ 5 และโรคถุงลมโป่งพอง/หลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังร้อยละ 2 ประเด็นที่สำคัญคือ การส่งเสริมหรือการดูแลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงหรือลดโอกาสที่จะเกิดการเจ็บป่วยลง รวมทั้งการป้องกัน ตลอดจนการประเมินหรือสังเกตความผิดปกติ จะสามารถป้องกันอันตรายต่อชีวิตหรือความพิการที่จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง
จึงสมควรเปิดการอบรมในหัวข้อ “รู้ทันการสูงวัย: การดูแลหัวใจและปอด” ซึ่งจะให้ความรู้เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในผู้สูงอายุ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง/หลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง และการใช้ยาที่เกี่ยวข้อง การดูแลส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบต่างๆ เช่น โภชนาการ การฝึกหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น รวมทั้งการช่วยชีวิตฉุกเฉิน ซึ่งการอบรมนี้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของคณะคือ สร้างความเป็นเลิศด้านบริการวิชาการและวิชาชีพที่สอดคล้องต่อความต้องการ และรับผิดชอบต่อสังคม
ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้ดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ชิด และสร้างบุคคลากรทางการแพทย์ที่สามารถให้คำแนะนำด้านสุขภาพแบบองค์รวมได้อย่างถูกต้อง โดยสามารถประยุกต์องค์ความรู้ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพด้านการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกวิธี อันก่อให้เกิดการพัฒนาและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์การแพทย์ของประเทศ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ร่วมอบรม
2.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในผู้สูงอายุ
2.2 ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลหัวใจ หลอดเลือด และปอด รวมถึงการใช้ยาในผู้สูงวัย
2.3 สามารถนำความรู้ที่ได้จาการอบรมไปปฏิบัติและเผยแพร่
คำสำคัญ
รู้ทันการสูงวัย (Smart aging), หัวใจ (heart) ปอด and Lung)
วิธีสมัครการประชุม
6. การสมัครและการลงทะเบียน ค่าลงทะเบียน ภายในวันที่ 20 เมษายน 2561 คนละ 2,500 บาท ค่าลงทะเบียน หลังวันที่ 20 เมษายน 2561 คนละ 3,000 บาท โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อม scan หรือ fax ใบโอนเงินค่าลงทะเบียน (ใบ pay in หรือ สลิป ATM ) มาที่ หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทางโทรสารหมายเลข 0-2644-4536 (ในวันประชุมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ) ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานรัฐวิสาหกิจ เข้าร่วมประชุมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา เมือ่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้วและมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัดได้ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0409.6/ว 95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และระเบียบของแต่ละหน่วยงาน