การประชุมวิชาการ
การประชุมวิจัยนานาชาติ เรื่อง “Advanced Pharmaceutical Technologies in Cancer Immunotherapy”
ชื่อการประชุม การประชุมวิจัยนานาชาติ เรื่อง “Advanced Pharmaceutical Technologies in Cancer Immunotherapy”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-012-03-2561
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมคราวน์ พลาซา ลุมพินี กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 12 -13 มี.ค. 2561
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์/นักวิจัย จำนวน 50 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในศตวรรษที่ 21 นี้ถือว่าเป็นยุคแห่งพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดในด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยงานวิจัยและการค้นคว้าต่างๆมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุม และรักษาโรค รวมทั้งยืดอายุขัยของมนุษย์ แต่สิ่งที่ตามมากลับพบว่าเมื่อเราสามารถช่วยให้มนุษย์มีชีวืตยืนยาวขึ้น ทำให้เกิดโรคและภาวะเจ็บป่วยที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่นในโรคมะเร็ง โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา วิธีหลักที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ในปัจจุบัน คือ การผ่าตัดร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี ทั้งนี้การรักษาโดยยาเคมีบำบัดที่ใช้ในปัจจุบันยังมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทำให้ประชาชนในประเทศไทยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาโดยการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงได้ และยังพบปัญหา การดื้อต่อยาในเซลล์มะเร็ง ซึ่งปัญหาสำคัญในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
ในแง่ชีววิทยาของมะเร็ง ก้อนเนื้อ tumors ถือเป็นเนื่อเยื่อที่ซับซ้อนที่ประกอบด้วย neoplastic cells ที่มีความหลากหลายอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนยึดเกาะกันภายในสภาวะแวดล้อมของเซลล์ที่เป็น stroma และมีการสร้างโปรตีนหลากหลายชนิดเพื่อการสื่อสารระหว่างเซลล์ เพื่อการอยู่รอด และการพัฒนาเนื้อเยื่อซึ่งโปรตีนเหล่านี้สามารถกลายมาเป็นเป้าหมายในการรักษาโรคมะเร็งได้ โดยยุทธศาสตร์ในการรักษาอิงเป้าหมายเช่นนี้ถือเป็นการรักษามุ่งเป้า หรือ “targeted therapy” ซึ่งเชื่อว่าทำให้เกิดประสิทธิผลที่ดีในการรักษามะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเนื้อเยื่อมะเร็งมีความหลากหลายในแง่ลักษณะของเซลล์อย่างมาก การรักษาที่ประสบความสำเร็จจำเป็นจะต้องพึ่งการรักษาที่มุ่งเป้าแบบองค์รวม หรือ combination of targeted therapies
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันมีการนำเอาแอนติบอดีมาใช้ในการรักษา โดยการใช้แอนติบอดีเป็นวิธีที่เชื่อกันว่าสามารถให้ผลที่ดี จากหลักการที่แอนติบอดีสามารถไปขัดขวางโมเลกุลเป้าหมายเดี่ยวได้เนื่องจากมีความจำเพาะเจาะจงอย่างสูง ในปี ค.ศ. 1980 มีการใช้แอนติบอดีรักษาผู้ป่วย lymphoma ที่กลับมาเป็นซ้ำ เป็นครั้งแรก แม้ในขณะนั้นจะมีข้อโต้แย้งมากมายเกี่ยวกับฤทธิ์ในการรักษาของแอนติบอดี แต่ผลที่ได้จากผู้ป่วยรายนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้แอนติบอดีในการรักษามีความปลอดภัยกับคนไข้และทำให้ผู้ป่วยทนต่อการรักษาได้มากขึ้น
การใช้แอนติบอดีในการรักษาโรคมะเร็งมีข้อได้เปรียบเหนือการรักษาแบบอื่นๆ เมื่อกล่าวถึงความปลอดภัยในการรักษาและการทนต่อยาของผู้ได้รับการรักษา ทำให้การพัฒนายาที่ใช้แอนติบอดีเป็นที่น่าสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นระบบการรักษาที่สามารถมุ่งเป้าไปยัง tumor-associated antigens ที่มีความจำเพาะเจาะจงได้ รวมไปถึง glycoproteins ที่ผิวเซลล์ที่เชื่อมต่อกับ clusters of differentiation หรือ CTLA-A หรือ มุ่งไปที่กระบวนการควบคุมการตอบสนองของเซลล์ผ่าน growth factors ได้ ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ monoclonal antibodies ในการรักษามะเร็งโดยเฉพาะ non-Hodgkin\'s lymphoma เริ่มเป็นจุดสนใจอย่างยิ่ง และปัจจุบันได้มีการ วิจัย และพัฒนาการรักษาด้วยยากลุ่มนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยใช้ร่วมกับการรักษาแบบอื่น เช่น การรักษาร่วมกับเคมีบำบัด
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการใช้แอนติบอดีในการรักษาโรคมะเร็งกำลังเป็นจุดสนใจอย่างมากในวงการแพทย์ และการพัฒนายา อีกทั้งงานวิจัยที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านๆมามีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยรายงานวิจัยเหล่านี้ให้ผลที่หลากหลาย ซึ่งอาจยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดในแง่ของประสิทธิผลจากการรักษาด้วยวิธีนี้เนื่องจากยังไม่มี criteria for clinical objective response ที่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะขับเคลื่อนการรวมกลุ่มกันของนักวิชาการ นักวิจัยและพัฒนา ที่มีความสนใจและ/หรือ เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้เพื่อนำความรู้และการค้นพบใหม่ๆมานำเสนอ พูดคุย แลกเปลี่ยนกันในวงแคบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการอภิปราย วิเคราะห์ วิจารณ์ และนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ และเทคนิกต่างๆในการวิจับ ตลอดจนการสร้างความร่วมมืออย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยระหว่างคณาจารย์และนักวิจัย ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับนักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติในการพัฒนายาภูมิคุ้มกันบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
- เพื่อยกระดับคุณภาพงานวิจัย และพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโมโนโคลนอลแอนติบอดีและ T cell เพื่อการรักษาโรคมะเร็ง และการพัฒนาเทคโนโลยีการนำส่งโมโนโคลนอลแอนติบอดีและ T cell เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงเซลล์เป้าหมาย ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
โครงการประชุมนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน ทั้งนี้สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณจิดาภา สุนทรัช หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง โทรศัพท์ 02-218-8454 หรือ e-mail: ce@pharm.chula.ac.th