การประชุมวิชาการ
วิชาการชมรมร้านขายยาจังหวัดตรัง Basic Life Support : Theory & Practical สมุนไพร Intrend ใช้ให้เป็น ลดอาการเจ็บป่วย ประสบการณ์ทำร้านยาผ่านเกณฑ์ GPP และเทคนิคบริหารจัดการร้านยา บทบาทเภสัชกรปฐมภูมิ เริ่มต้นได้ที่ร้านยา
ชื่อการประชุม วิชาการชมรมร้านขายยาจังหวัดตรัง Basic Life Support : Theory & Practical สมุนไพร Intrend ใช้ให้เป็น ลดอาการเจ็บป่วย ประสบการณ์ทำร้านยาผ่านเกณฑ์ GPP และเทคนิคบริหารจัดการร้านยา บทบาทเภสัชกรปฐมภูมิ เริ่มต้นได้ที่ร้านยา
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-016-05-2561
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมเรือรัษฎา จังหวัดตรัง
วันที่จัดการประชุม 20 พ.ค. 2561
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรและบุคลากรร้านยา จำนวน 100 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การหมั่นทบทวนความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิตและการประกอบวิชาชีพ จะทำให้เภสัชกรชุมชนมีความรู้ความสามารถและศักยภาพ ในการทำงานบริการผู้ป่วยและบริหารจัดการร้านยา
โครงการวิชาการปี พ.ศ. 2561 จัดอบรมทบทวนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นต้น (Basic Life Support) ครั้งที่ 2 (ครั้งแรกจัดในปี 2559) ด้วยเห็นว่าทักษะนี้ บุคลากรทางการแพทย์ด้านต่างๆควรมีความรู้ไว้ โดยเฉพาะร้านยาซึ่งกระจายอยู่ตามชุมชน หากมีเหตุฉุกเฉิน อาจต้องเข้าให้การช่วยเหลือ หรือถูกร้องขอให้ช่วยเหลือ และเป็นทักษะที่จะต้องฝึกทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
ความสนใจต่อกระแสทางเลือกการใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แทนยาแผนปัจจุบัน ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง การบรรยายจะกล่าวถึงข้อมูลวิชาการของสมุนไพรหลักที่นิยมใช้ และแนวทางการเลือกใช้สมุนไพร
ในปลายปี พ.ศ. 2561 นี้ การบังคับใช้ GPP ระยะที่ 1 จะมีผลเกี่ยวพันกับการต่ออายุใบอนุญาตของ ข.ย.1 ในปีถัดไป ตัวแทนร้านยาใหม่ที่ผ่านการประเมิน GPP ของชมรมฯ จะแบ่งปันประสบการณ์แก่ร้านยาเก่า เพื่อให้ร้านยามีทัศนคติที่ถูกต้องและพัฒนาร้านยาได้ตรงตามเจตนารมณ์ GPP รวมถึงจะได้แบ่งปันเทคนิคการบริหารจัดการร้านยาในมุมมองคนรุ่นใหม่อีกด้วย
เภสัชกรรมปฐมภูมิกับร้านยา เป็นอีกหัวข้อที่จะได้หยิบยกมาพูดถึง บทบาทการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน เรียนรู้ทักษะการคัดกรองโรค การเยี่ยมบ้าน ตลอดจนการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยกับหน่วยบริการปฐมภูมิภาครัฐ เงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ และประโยชน์ต่อการเป็นหน่วยร่วมบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลผู้ป่วย ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาร้านยา
คำสำคัญ
Basic Life Support, สมุนไพร, GPP, เภสัชกรรมปฐมภูมิ, เยี่ยมบ้าน