การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เรื่อง Pharmacy Review and Update Series 2018: Pharmacotherapy of Pain and Palliative Care
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เรื่อง Pharmacy Review and Update Series 2018: Pharmacotherapy of Pain and Palliative Care
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-029-07-2561
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุม 302 อาคารเทพรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่จัดการประชุม 18 -20 ก.ค. 2561
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร แพทย์ พยาบาล และผู้สนใจที่ลงทะเบียน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 15 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
วิทยาการด้านยาในปัจจุบันต้องอาศัยการบูรณาการความรู้ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงการนำไปใช้ นอกจากนี้ความก้าวหน้าในด้านดังกล่าวยังเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นบุคลากรทางสาธารณสุขจึงมีความจำเป็นในการที่จะต้องทบทวนความรู้ในเชิงบูรณาการและติดตามความก้าวหน้าของวิทยาการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการทำงานในอาชีพของตนเองในทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์ต่อสังคมต่อไป
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทย จึงมีความประสงค์ที่จะนำเสนอการประชุมวิชาการในรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจที่ลึกซึ้งและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2553 และมีแผนการจัดประชุมในลักษณะเป็นรายปี ในแต่ละปีจะมีปรัชญาการประชุมที่เหมือนกันคือเน้นการบูรณาการ แต่เนื้อหาการประชุมอาจจะแตกต่างกันออกไปตามศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับปี พ.ศ. 2561 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดให้มีการประชุมที่เน้นการดูแลการใช้ยาที่ใช้รักษาความปวด (pain) ประเภทต่าง ๆ และการใช้ยาเพื่อดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในระยะท้ายของชีวิต (palliative care) ขึ้น ซึ่งเนื้อหาการประชุมได้ครอบคลุมสรีรวิทยาและพยาธิสรีรวิทยาของความปวด เภสัชวิทยาของยาแก้ปวดหลักและยาแก้ปวดเสริม แนวทางการรักษาอาการปวดที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ ได้แก่ อาการปวดหลังการผ่าตัด อาการปวดเหตุพยาธิสภาพระบบประสาท อาการปวดจากโรคมะเร็ง และอาการปวดเรื้อรังจากภาวะอื่นที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในระยะท้ายของชีวิต การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการทรมานต่าง ๆ ที่อาจพบในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว เช่น ปวด เหนื่อย หายใจลำบาก ท้องผูก ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงการใช้ยาจิตเวชเพื่อรักษาอาการผิดปกติของพฤติกรรมและอารมณ์ที่พบบ่อยในผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต โดยเฉพาะอาการวิตกกังวล และภาวะเพ้อ (delirium) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเภสัชกรในการดูแลด้านยาสำหรับผู้ป่วยที่มีความปวด และผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิตที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบประคับประคอง ร่วมกับทีมบุคลากรสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยจากการใช้ยาสูงสุดต่อไป
วัตถุประสงค์
1.เข้าใจพื้นฐานการออกฤทธิ์ของยาแก้ปวดหลักและยาแก้ปวดเสริมที่ใช้บ่อย รวมถึงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาที่สำคัญ และบอกความแตกต่างของยาแต่ละชนิดได้
2.เข้าใจและอธิบายบทบาทของการรักษาด้วยยาในภาวะปวดที่พบบ่อย โดยอ้างอิงตามหลักฐานทางวิชาการที่ทันสมัย
3.เข้าใจและอธิบายหลักการเลือกใช้ยาเพื่อรักษาภาวะต่าง ๆ ที่พบบ่อยในผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิตได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย โดยอ้างอิงตามหลักฐานทางวิชาการที่ทันสมัย
4.นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประเมินความเหมาะสมของการใช้ยา การวางแผนการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัย และการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
ความปวด, ผู้ป่วยแบบประคับประคองในระยะท้ายของชีวิต, ยาจิตเวช
วิธีสมัครการประชุม
ค่าลงทะเบียน - สมัครและโอนเงิน ภายใน วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ค่าลงทะเบียน 3,000 บาท - สมัครและโอนเงิน หลัง วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ค่าลงทะเบียน 3,500 บาท การสมัครและลงทะเบียน - สมัครพร้อมชำระเป็นเงินสดที่ งานคลังและพัสดุ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-454264-0 ชื่อบัญชี “Pharmacy Review and Update Series” หรือ - สมัครทาง Online ที่เว็บไซต์ www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อม Scan ใบโอนเงินชำระค่าลงทะเบียน (ใบ pay in) หรือ - ส่งใบสมัครพร้อมสำเนาใบโอนเงินชำระค่าลงทะเบียน (ใบ pay in) ทางโทรสารหมายเลข 02-644-4536 หรือ 02-354-4326 หรือทางไปรษณีย์ ไปยัง หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 447 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 (ในวันประชุม โปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ) ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ โทร/โทรสาร 02-644-4536 หรือ รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. บุษบา จินดาวิจักษณ์ (รองคณบดีฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล) โทร. 02-354-7502