การประชุมวิชาการ
Pharmacy Academy : Thai Chronic Cough Guideline และบทบาทของยาขยายหลอดลม; Antiplatelets in Ischemic Stroke – the devastating drugs to concerns;บทบาทของยากลุ่ม cytoprotectiveagentsในร้านขายยา
ชื่อการประชุม Pharmacy Academy : Thai Chronic Cough Guideline และบทบาทของยาขยายหลอดลม; Antiplatelets in Ischemic Stroke – the devastating drugs to concerns;บทบาทของยากลุ่ม cytoprotectiveagentsในร้านขายยา
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-2-000-012-05-2561
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 13 พ.ค. 2561
ผู้จัดการประชุม สมาคมร้านขายยา
กลุ่มเป้าหมาย 1. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม หรือผู้ได้รับอนุมัติฯใบประกอบกิจการร้านยาประเภทต่างๆจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2. เป็นผู้ปฏิบัติ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
- เรื่อง:Pharmacy Academy ; Thai Chronic Cough Guideline and role of Beta 2 agonist
หลักการและเหตุผล
ไอเรื้อรังเป็นปัญหาที่ผู้ป่วยต้องรับการรักษาหรือพบแพทย์ได้บ่อยในทางเวชปฏิบัติ และมีผลต่อคุณภาพชีวิต สาเหตุไอเรื้อรังนานกว่า 8 สัปดาห์เกิดจากโรคระบบหายใจส่วนบน และระบบหายใจส่วนล่าง รวมทั้งโรคนอกระบบหายใจ ไอเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงโรคร้ายแรง โดยเฉพาะในกรณีที่พบร่วมกับอาการอื่นๆเช่นน้ำหนักตัวลด ไข้เรื้อรัง หรือไอออกเลือด เป็นสัญญาณให้ต้องสืบค้นหาสาเหตุ รวมทั้งกรณีไอเรื้อรังที่พบร่วมกับภาพรังสีปอดผิดปกติชัดเจน อย่างไรก็ตามในกรณีโรคของทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น โรคหืดที่มาด้วยอาการไอเป็นหลัก โรคหลอดลมโป่งพอง และโรคของเนื้อปอด (interstitial lung diseases) และโรคนอกระบบทางเดินหายใจ เช่น กรดไหลย้อน ภาพรังสีอาจปอดปกติพบได้เป็นต้น ในที่นี้จะเน้นแนวทางการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไอเรื้อรังจากโรคของทางเดินหายใจส่วนล่างที่เป็นสาเหตุของไอเรื้อรัง
- เรื่อง “Antiplatelets in Ischemic Stroke – the devastating drugs to concerns”
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันพบว่าปัญหาเรื่องโรคหลอดเลือดสมองเป็นอุบัติการณ์การตายลำดับต้นๆ ของประชากรไทยและเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของไทย โดยมีอัตราการตายต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ. 2558 สูงถึงประมาณ 45 คนต่อประชากรแสนคน และมีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลด้วยอาการหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันเป็นจำนวนมาก โดยพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับเพศ โดยในเพศหญิงจะพบได้มากกว่าเพศชายซึ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในทุกๆ ด้าน คือผู้คนมักจะบริโภคอาหารที่มีไขมันมากเกินไป ออกกำลังกายน้อย และมีความเครียดซึ่งโรคดังกล่าวส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของตัวผู้ป่วยเองและผู้ที่ดูแล ซึ่งผู้ป่วยสามารถที่จะป้องกันและควบคุมได้ถ้ามีความรู้เรื่องโรคและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องโดยกิจกรรมสัมมนาให้ความรู้นี้จัดขึ้นเพื่อให้เภสัชกรที่ประจำอยู่ที่ร้านยาได้เพิ่มพูนความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแนะนำให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และหลักฐานทางวิชาการสำหรับการใช้ยาต้านเกล็ดเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อป้องกันการเกิดเป็นซ้ำของโรคของผู้ป่วยตั้งแต่เบื้องต้นและคุณภาพชีวิตในระยะยาว
- เรื่อง“บทบาทของยากลุ่ม cytoprotectiveagentsในร้านขายยา”
หลักการและเหตุผล
โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เป็นอีกโรคที่พบได้บ่อยในร้านขายยา เช่น- โรคแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งจัดเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการปวดท้องบริเวณกระเพาะอาหารแบบ
ชนิด Organic dyspepsia จากข้อมูลสำรวจพบว่า ทุกๆ 100 ราย จะพบแผลในกระเพาะอาหารได้ 5-15 ราย โดยความชุกนั้น จะมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา
- Dyspepsia เป็นกลุ่มอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกไม่สุขสบายบริเวณช่องท้องส่วนบน ผู้ป่วยอาจมาหาที่ร้านยาด้วยอาการ ที่หลากหลาย เช่น เรอลมบ่อย อืดแน่นหลังรับประทานอาหาร แสบร้อนที่บริเวณลิ้นปี่
- การป้องกันแผลในทางเดินอาหารจากยา NSAIDs
ยากลุ่ม NSAIDs เป็นยากลุ่มหนึ่งที่มีการใช้มากในร้านขายยา ซึ่งอาการข้างเคียงที่สำคัญของยาในกลุ่มนี้ แผลในทางเดินอาหาร ซึ่งร้านขายยาควรพิจารณาจ่ายยาป้องกันผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารอย่างเหมาะสม สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยา NSAIDs และมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลในทางเดินอาหาร
จากโรคที่ได้กล่าวไปทั้งหมดข้างต้น ยาที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรักษาส่วนใหญ่คือยาควบคุมการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร(antisecretory agents) ได้แก่
- ยากลุ่ม Proton pump inhibitors (PPIs)
- ยากลุ่ม H2- receptor antagonists ( H2RA)
ถึงแม้ว่ายาในกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพดี และมีความปลอดภัยสูงแต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เริ่มมีรายงานเกี่ยวกับอาการข้างเคียงของยามากขึ้น ทำให้เป็นที่กังวลของทั้งเภสัชกรและคนไข้ และเนื่องจากการรักษาโรคในระบบทางเดินอาหารยังมียาอีกกลุ่มนึงที่มีบทบาทในการรักษา ซึ่งอาจเป็นอีกทางเลือกให้เภสัชกร ในการดูแลรักษาคนไข้ได้ ยากลุ่มนั้นคือ ยาปกป้องและถนอมผิวกระเพาะอาหาร (Cytoprotective agents) ได้แก่
- Rebamipide
- Sucralfate
- Misoprostal



วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาบุคลากรเภสัชกรผู้ปฏิบัติการในร้านขายยาให้มีความรู้ ความเข้าใจ หลักการในดูแลให้คำปรึกษา และเลือกจ่ายยารักษาอาการได้ถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มผู้ป่วย
คำสำคัญ
ไอเรื้อรัง UACS Cough Variant Asthma ยาขยายหลอดลม Stroke, Cerebrovascular disease (CVD), Antiplatelet, Devastating drugPeptic ulcer, Dyspepsia, Pr