การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการชรมร้านขายยาจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการชรมร้านขายยาจังหวัดนครศรีธรรมราช
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-2-000-007-06-2561
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมแกรนด์ปาร์ค อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่จัดการประชุม 17 มิ.ย. 2561
ผู้จัดการประชุม ชมรมร้านขายยาจังหวัดนครศรีธรรมราช
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรและบุคคลากรของร้านยาใน จ.นครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล

ในสังคมไทยปัจจุบันพบว่า ผู้คนมีภาวะเครียดและวิตกกังวลความเพิ่มสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากการรายงานข่าวที่มีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายบ่อยครั้งขึ้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งของการฆ่าตัวตายมาจากโรคซึมเศร้า จากข้อมูลงานประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 14 เมื่อปี 2558 ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าตลอดช่วงชีวิตถึง 900,000 คน หรือคิดเป็น 1.8% ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 1.5 ล้านคน ในปี 2563 โดยมีคนพยายามฆ่าตัวตายสูงกว่าคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ 20 เท่าตัว สำหรับประเทศไทย คนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ย 1 คน ในทุกๆ 2 ชั่วโมง ผู้ชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าผู้หญิง หากไม่ได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้องนานเป็นเดือน เรื้อรังเป็นปี จะกลับเป็นซ้ำได้บ่อย ถ้าอาการซึมเศร้ารุนแรง อาจจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า
นอกจากโรคซึมเศร้าแล้วโรคที่พบได้บ่อยเป็นประจำทุกปี คือโรคอุจจาระร่วงซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุหากไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องอย่างทันท่วงทีก็สามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นเด็กและผู้สูงอายุ จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคอุจจาระร่วง ตั้งแต่ 1 ม.ค.–6 มี.ค. 2560 พบผู้ป่วยทั่วประเทศแล้ว 169,168 ราย เสียชีวิต 1 ราย กลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมาคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเป็นกลุ่มก้อนในบางพื้นที่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
ร้านขายยาจัดเป็นที่พึ่งด้านสุขภาพที่ใกล้ชิดกับชุมชน ดังนั้นเภสัชกรและบุคคลากรในร้านยาจึงสามารถมีบทบาทในการช่วยลดอัตราการเกิดและความรุนแรงของโรคดังกล่าวได้โดยการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่คนในชุมชนที่เข้ามาใช้บริการกับร้านยาเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว การใช้ยาที่เหมาะสม และส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลหากมีอาการรุนแรงมากขึ้น
วัตถุประสงค์
คำสำคัญ