การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมวิชาการ เรื่อง Tackling challenges with Formulation and Process
ชื่อการประชุม โครงการอบรมวิชาการ เรื่อง Tackling challenges with Formulation and Process
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-036-08-2561
สถานที่จัดการประชุม ห้อง 1002 อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่จัดการประชุม 07 ส.ค. 2561
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรที่มีความสนใจและปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการคิดค้นและพัฒนาสูตรตำรับยาหรือเภสัชกรที่มีความสนใจและปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการผลิต โดยสามารถรับผู้เข้
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการพัฒนาสูตรตำรับยาสามัญใหม่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี วัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่อาศัยวิธีการพิเศษต่างๆ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกกระบวนการผลิตยาอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวตอบรับให้มีความเท่าทันกับข้อมูลเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับใช้ในการพัฒนาสูตรตำรับ และเภสัชภัณฑ์ของตน ที่สามารถนำส่งยาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
ในอุตสาหกรรมยาหลักของประเทศ ยังคงมีการพัฒนายาสามัญใหม่ที่อยู่ในรูปแบบของแข็งออกสู่ท้องตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเภสัชภัณฑ์ในรูปแบบของแข็งนี้มักอาศัยกรรมวิธีการผลิตโดยกระบวนการทำแกรนูลเปียก (wet granulation) ที่ต้องใช้สารยึดเกาะ (binder) ในการผสมเข้ากับตัวยาสำคัญ และสารช่วยในสูตรตำรับต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการไหล และความสามารถในการตอกอัดของผงยา ให้สามารถขึ้นรูปเป็นเภสัชภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เป็นไปตามเภสัชตำรับ ในกระบวนการทำแกรนูลเปียกนี้จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวยาสำคัญและสารช่วยต่างๆในสูตรตำรับ ซึ่งหากผู้ผลิตมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดความล่าช้า รวมถึงปัญหาต่างๆในการผลิตสยาสามัญเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ในสูตรยาสามัญใหม่หลายตำรับต้องอาศัยกระบวนการเคลือบ (coating) เพิ่มด้วย เพื่อให้ได้เภสัชภัณฑ์ที่สามารถปลดปล่อยตัวยาสำคัญได้ตรงตามความต้องการ รวมถึงการเคลือบเพื่อการกลบรสชาติไม่พึงประสงค์จากตัวยาสำคัญ และการเคลือบเพื่อเพิ่มความคงตัวให้กับสูตรตำรับยา ทั้งนี้มีปัจจัยหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการเคลือบ ได้แก่สารเคลือบ สารช่วยในตำรับ เทคนิคที่ใช้ รวมถึงวิธีการเคลือบ และการควบคุมสภาวะในการเคลือบ ซึ่งต้องมีการเลือกและประยุกต์ใช้ปัจจัยดังกล่าวให้เหมาะสมกับคุณสมบัติเฉพาะของตัวยาสำคัญและสภาพแวดล้อม เช่น ความชื้น อุณหภูมิ เป็นต้น ดังนั้นการเรียนรู้ และพัฒนาความรู้เรื่องเทคนิค วิธีการเคลือบยาจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถยกระดับความสามารถในการคิดค้นและปรับปรุงสูตรตำรับยาให้มีการปลดปล่อยยา และมีความคงตัวตามมาตรฐานได้ อีกทั้งในแง่อุตสาหกรรม ผู้ผลิตยังสามารถนำความรู้และเทคนิควิธีการต่างๆ การเลือกใช้สารในสูตรตำรับให้เหมาะสม มาปรับใช้ในระดับห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เข้ากับกระบวนการผลิต เครื่องมืออุปกรณ์ และทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
ในการนี้ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม ร่วมกับบริษัท ไวต้า (ประเทศไทย) จำกัด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้ข้างต้นให้กับเภสัชกรรวมถึงผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในด้านการพัฒนาสูตรตำรับยาสามัญใหม่ ให้สามารถเตรียมเภสัชภัณฑ์ในรูปแบบของแข็งได้อย่างมีมาตรฐานรวมทั้งส่งเสริมให้เภสัชภัณฑ์มีคุณภาพที่ดีขึ้นทั้งทางด้านการนำไปทดสอบชีวสมมูลและความคงตัวของเภสัชภัณฑ์
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เภสัชกรผู้ผลิตหรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสูตรตำรับยาได้เรียนรู้และนำหลักการ กรรมวิธีเทคนิคใหม่ๆ เรื่องการทำแกรนูลเปียก และการเคลือบของยาไปใช้เพื่อการพัฒนาเภสัชภัณฑ์รูปแบบของแข็งที่มีปัญหาในระดับอุตสาหกรรม
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (www.pharm.chula.ac.th/ce) โดยมีอัตราค่าลงทะเบียนดังนี้ - ชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ท่านละ 1,000 บาท - ชำระค่าลงทะเบียนหลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ท่านละ 1,500 บาท - หน่วยฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพจะสนับสนุนค่าลงทะเบียนแก่อาจารย์เภสัชกรประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงาน (สาขาเภสัชอุตสาหกรรมเท่านั้น) แห่งละไม่เกิน 1 ท่าน โดยต้องได้รับการตอบรับจากหน่วยฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพก่อน (กรุณาลงทะเบียนก่อนวันที่ 31 กรกฎาคม 2561)