การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้ LC-MS/MS สำหรับการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์และเมแทบอลิซึมในการพัฒนายาและการวิจัย “LC-MS/MS for Analysis in Drug Discovery and Development of Small and Large Molecules: Applications to Drug Metabolism and Pharmacokine
ชื่อการประชุม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้ LC-MS/MS สำหรับการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์และเมแทบอลิซึมในการพัฒนายาและการวิจัย “LC-MS/MS for Analysis in Drug Discovery and Development of Small and Large Molecules: Applications to Drug Metabolism and Pharmacokine
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-001-01-2560
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่จัดการประชุม 05 -06 ม.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ เภสัชกร นิสิตนักศึกษา หรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับงานวิจัยพัฒนายา สมุนไพร และชีววัตถุ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในการวิจัยและพัฒนายา การศึกษาเภสัชจลนศาสตร์และเมแทบอลิซึมทั้งในระดับการศึกษาพรีคลินิกและการศึกษาทางคลินิกเพื่อระบุสารที่ออกฤทธิ์ รวมถึงการหาความสัมพันธ์ของระดับยา/เมแทบอไลต์ในเลือดและเนื้อเยื่อกับการแสดงฤทธิ์/พิษ นั้น เป็นขั้นตอนการศึกษาที่สำคัญสำหรับการประเมินประสิทธิศักย์ (efficacy) และความปลอดภัย (safety) ของยา ตลอดจนข้อมูลดังกล่าวยังสามารถนำมาใช้ในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ physiologically-based pharmacokinetics ที่มีศักยภาพในการคาดการณ์ขนาดที่ควรได้รับอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยกลุ่มประชากร ต่าง ๆ ที่มีพยาธิสภาพหรือสภาวะทางร่างกายที่แตกต่างได้ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่าปริมาณยา/เมแทบอไลต์ที่อยู่ในร่างกายเมื่อให้ในขนาดยาที่ใช้ในการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์และเมแทบอลิซึมนั้นมักมีระดับที่ต่ำมาก จำเป็นต้องใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ที่มีขีดความสามารถสูง วิเคราะห์หาสารปริมาณน้อยได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเพื่อค้นหาสารที่มีศักยภาพเป็นยาใหม่ หรือสารจากสมุนไพรนั้น จะมีข้อมูลที่พร้อมให้สืบค้นและวางแผนการศึกษาจะมีอยู่อย่างจำกัด ตัวอย่างสารที่ทำการศึกษามีปริมาณน้อยมาก ความถูกต้องแม่นยำของการวิเคราะห์หาสารสำคัญและเมแทบอไลต์ที่เกิดขึ้นทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณจึงมีความสำคัญยิ่ง ปัจจุบัน การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ด้วยชุดเครื่องมือ LC-MS/MS เป็นเทคนิคที่มีบทบาทสำคัญต่องานวิเคราะห์สารในร่างกาย (bioanalysis) และได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นวิธีที่ใช้สำหรับวัดสารปริมาณน้อยได้อย่างถูกต้อง มีความแม่นยำสูง จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางเพื่อระบุชนิดของยา/เมแทบอไลต์ที่เกิดขึ้นจากยาเคมี และยาที่เป็นโปรตีน
ในการนี้ ศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล็งเห็นว่า ความรู้ความเข้าใจในหลักการและการประยุกต์ใช้วิธีวิเคราะห์ด้วย LC-MS/MS จะช่วยให้การวิจัยและพัฒนายาใหม่ ยาชีววัตถุและยาพัฒนาจากสมุนไพร ให้มีความเข้มแข็ง สามารถเสริมศักยภาพในการศึกษาพรีคลินิกและการศึกษาทางคลินิกให้มากขึ้น จึงได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ขึ้นโดยมีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การใช้ LC-MS/MS ในกระบวนการวิจัยทางเภสัชจลนศาสตร์และเมแทบอลิซึมมาร่วมในโครงการ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการวิเคราะห์ยา/เมแทบอไลต์/ เปปไทด์หรือโปรตีน ด้วย LC-MS/MS ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยและพัฒนายาโดยเฉพาะที่เป็นสารใหม่
คำสำคัญ
physiologically-based pharmacokinetics เมแทบอไลต์ที่เกิดขึ้นจากยาเคมี และยาที่เป็นโปรตีน การวิจัยและพัฒนายา
วิธีสมัครการประชุม
1) ลงทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ http://pharmce.weebly.com/lcmsms.html 2) ชำระเงินค่าลงทะเบียนโดยโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารทหารไทย สาขาสยามสแควร์ ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 174-2-06587-1 ชื่อบัญชี “คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ค่าลงทะเบียน)” 3) ส่งหลักฐานการชำระเงินมาทางอีเมล์ ce.pharm.chula@gmail.com พร้อมระบุชื่อโครงการอบรม \"PDPK59\" และรายชื่อผู้เข้าร่วมอบรม