การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง Immunopharmacology: Basic Concepts and Applications
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง Immunopharmacology: Basic Concepts and Applications
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-002-03-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุม 302 อาคารเทพรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่จัดการประชุม 02 -03 มี.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์แหล่งฝึกปฏิบัติการ จำนวน 50 คน เภสัชกรและผู้สนใจ จำนวน 200 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 10.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ระบบภูมิคุ้มกันในมนุษย์ทำงานเชื่อมประสานกันเพื่อให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่มีความซับซ้อนต่อเนื่องกันไปเป็นลำดับขั้นอย่างจำเพาะในการป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ รวมถึงยาและสิ่งแปลกปลอมจากภายใน เช่น เซลล์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็ง การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไม่ว่ามากหรือน้อยจนเกินไปทำให้เกิดโรคที่พบบ่อยมากมายหลายชนิด เช่น โรคติดเชื้อฉวยโอกาส โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคภูมิแพ้ การแพ้ยา มะเร็ง ฯลฯ ในปัจจุบันยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันได้รับอนุมติทะเบียนมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นยาที่มีความซับซ้อนในเชิงกลไกการออกฤทธิ์ของยา ซึ่งเป็นทั้งยาเคมีและยาชีววัตถุที่มีเป้าหมายการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันไป ยาในกลุ่มนี้มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการรักษาโรคในปัจจุบัน เช่น โรคมะเร็ง (Cancer) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) การปลูกถ่ายอวัยวะ (Organ Transplantation) เป็นต้น
เนื่องจากยากลุ่มนี้เป็นยาที่มีความจำเพาะในหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวโยงกันที่ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างแท้จริง เภสัชกรโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันและยาที่ใช้รักษาโรคต่างๆ ได้อย่างจำกัด ซึ่งเภสัชกรต้องการความรู้เพิ่มเติมจากการประชุมวิชาการเพื่อเพิ่มความเข้าใจที่ถูกต้อง ทันสมัยอยู่เสมอ การประชุมวิชาการครั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ในการดูแลการใช้ยาได้มีองค์ความรู้ที่ก้าวหน้า และมีความเข้าใจ สามารถให้คำแนะนำผู้ป่วยในการใช้ยาอย่างเหมาะสมให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งในประเด็นด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย แนวปฏิบัติด้านเภสัชบำบัดของยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน (Immunopharmacology) และสามารถป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดจากการใช้ยา
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ในการดูแลการใช้ยาได้มีองค์ความรู้ที่ก้าวหน้า และมีความเข้าใจในบทบาททั้งในประเด็นด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย แนวปฏิบัติด้านเภสัชบำบัดของยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันกับบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยในการใช้ยาอย่างเหมาะสม
2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดที่จะนำไปสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
3. เพื่อเป็นการเผยแพร่งานบริการวิชาการหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องแก่เภสัชกร
คำสำคัญ
ระบบภูมิคุ้มกัน, เภสัชบำบัดของยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน
วิธีสมัครการประชุม
ประสานงานการลงทะเบียน สอบถามเพิ่มเติมที่ หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ โทร. 02-644-4536 หรือ Email: ratree.pap@mahidol.ac.th และเลขานุการภาควิชาเภสัชวิทยา โทร. 02-644-8677-89 ต่อ 5630, 5631 • ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมที่เว็บไซต์ http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-conference-yearplan.php • ระยะเวลารับสมัครเข้าร่วมประชุม ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 – 28 กุมภาพันธ์ 2560 • ค่าลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมประชุม คนละ 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน) ซึ่งครอบคลุมค่าเอกสารประกอบการประชุม ค่าอาหารกลางวัน และค่าอาหารว่าง • ชำระเงินได้ที่บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี ชื่อบัญชี บัญชี “การประชุมวิชาการ Immunopharmacology” เลขที่บัญชี 026-461749-5