0 2591 9992 กด 4
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับและประกาศของศูนย์
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
มุมดาวน์โหลด&ขั้นตอนต่าง ๆ
เข้าสู่ระบบ
ติดต่อเรา
บทความวิชาการ
สรุปกฎหมายลำดับรองตามกฎหมายว่าด้วยยาของปี พ.ศ. 2564
ชื่อบทความ
สรุปกฎหมายลำดับรองตามกฎหมายว่าด้วยยาของปี พ.ศ. 2564
ผู้เขียนบทความ
นายยุทธภูมิ วิหาโคต, ภญ.พัชราวรรณ พลรักษา, ภญ.มนชนก ด้วงดี, ภญ.นันทรัตน์ สุขรอด
สถาบันหลัก
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม
3001-1-000-005-07-2565
ผู้ผลิตบทความ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
การเผยแพร่บทความ
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน
วันที่ได้รับการรับรอง
08 ก.ค. 2565
วันที่หมดอายุ
07 ก.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ในปี พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับเภสัชกร ดังต่อไปนี้ 1. กฎกระทรวงการผลิตและการนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน โดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานและ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เพื่อกระบวนการผลิต นำหรือสั่งยาเกิดประสิทธิภาพและ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคยิ่งขึ้น 2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 3 ฉบับ ที่กำหนดในเรื่องของสถานที่ อุปกรณ์ และวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ของสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ และสถานที่ขายส่งยาแผนปัจจุบัน เพื่อยกระดับมาตรฐานของสถานที่ขายยา 3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขการยกเว้นไม่เป็นยา ซึ่งกำหนดวัตถุดิบบางรายการได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาสำหรับใช้ในทางอุตสาหกรรมอื่นนอกจากยา 4. การกำหนดข้อความคำเตือนไว้ที่ฉลาก และเอกสารกำกับยาของยาเพิ่มเติมซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้รับอนุญาต ที่ต้องจัดให้มีคำเตือนเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ใช้ยา ดังนั้น จึงได้รวบรวมกฎหมายที่ประกาศใช้บังคับในปี พ.ศ. 2564 เพื่อให้หน่วยงาน ผู้รับอนุญาต และเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
คำสำคัญ
กฎหมายลำดับรอง, กฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2564 ,วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน ,GPP