ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
How to manage Allergy and Cough for Community Pharmacist
ชื่อการประชุม How to manage Allergy and Cough for Community Pharmacist
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-2-000-008-04-2567
สถานที่จัดการประชุม Online
วันที่จัดการประชุม 21 เม.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนและ เภสัชกรชุมชนที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคภูมิแพ้ (Allergy) ประกอบด้วย โรคเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) และ โรคผื่นลมพิษ (Urticaria) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในร้านยา และมักจะก่อให้เกิดความรำคาญ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย หากไม่ได้รับการวินิจฉัย และรักษาอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตคนไข้ในระยะยาวได้ โดยสาเหตุหนึ่งของปัญหาที่ก่อให้เกิดโรคมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม มลพิษในปัจจุบัน รวมไปถึงปัจจัยเฉพาะตัวบุคคล เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าได้ง่าย ดังนั้นการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง รวมไปถึงการให้คำแนะนำในการปรับพฤติกรรมเพื่อลดการเกิดโรคอีกทางหนึ่ง
อาการไอเป็นอีกหนึ่งอาการที่มีผู้ป่วยเข้ามารับการปรึกษาที่ร้านยาเป็นจำนวนมาก โดยทั้งนี้อาการก็เป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อย ในผู้ป่วยที่เข้ารับบริการทางสาธารณสุขในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับร้านขายยา คลินิก จนถึงโรงพยาบาลระดับต่าง ๆ การให้บริการ ให้การรักษาและแนะนำเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยนั้น มีความจำเป็นและสำคัญ ในการแบ่งเบาภาระทางสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมาก ดังนั้นเภสัชกรชุมชน จึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการไอและการแนะนำยาและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย
เภสัชกรชุนชนควรมีความรู้ที่จะช่วยให้คำแนะนำกับผู้ป่วย และผู้ที่ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
ทั้งนี้เภสัชกรชุมชมยังขาดความรู้ความเข้าใจอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยข้อมูลวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยาและแนวทางการรักษา ป้องกัน รวมถึงการให้คำแนะนำกับคนไข้ในการปฏิบัติตัว เพื่อรับมือได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ (Allergy)
2. เพื่อให้เภสัชกรสามารถเลือกใช้ยาในการป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ (Allergy) ได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอาการไอ การจำแนกอาการไอ
4. เพื่อให้เภสัชกรสามารถเลือกใช้ยาในการป้องกันและรักษาอาการไอ ได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
Allergic Rhinitis, Urticaria, Non-sedative antihistamines, Second generation antihistamines Fexofednadine, Cough, Bromhexine, Mucokinetics