ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
2024 Oncology Pharmacotherapy “BCOP Spotlight Series, Episode II” เรื่อง Research Design, Statistics and Evaluating Oncology Literature
ชื่อการประชุม 2024 Oncology Pharmacotherapy “BCOP Spotlight Series, Episode II” เรื่อง Research Design, Statistics and Evaluating Oncology Literature
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-2-000-003-03-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุม M1 ชั้น 21 อาคาร A โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 14 มี.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และเภสัชกรบุคลากรภายนอกที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
แม้การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันจะเป็นยุคของ Precision Medicine และมีการพัฒนายาพุ่งเป้าออกมามากมาย แต่โรคมะเร็งก็ยังเป็นสาเหตุการตายในอันดับ 2 ของโลก (2019) และเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในปัจจุบัน ในประเทศไทยพบว่ามะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับ 1-5 ตามลำดับ (Globocan 2020) มาตรฐานในการรักษาโรคมะเร็งยังประกอบด้วยหลายๆ การรักษาร่วมกันตั้งแต่ การผ่าตัด รังสีรักษา และการให้ยาเคมีบำบัด การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดและยาพุ่งเป้า และมีวิธีการรักษาเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองหรือมีข้อบ่งชี้ในการรักษา เช่น การปลูกถ่ายไขกระดูกเป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาและสามารถใช้ยาเพื่อให้ได้รับประสิทธิผลและความปลอดภัยสูงสุดในการรักษา บทบาทของเภสัชกรในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแต่การเตรียมยาเคมีบำบัดด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ แต่ยังเป็นการร่วมให้การดูแลผู้ป่วยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับของสหสาขาวิชาชีพมากยิ่งขึ้น
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นเนล เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ซึ่งรองรับผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยรับผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคมะเร็งเฉลี่ย 75 คนต่อวัน และรับผู้ป่วยในเฉลี่ย 30 คนต่อวัน การวางแผนการรักษาผู้ป่วยโดยเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary care) เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา พยาบาล เภสัชกร นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง
ฝ่ายเภสัชกรรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดให้มีการอบรม เพิ่มพูนความรู้และทักษะในความรู้ทางเภสัชบำบัดด้านโรคมะเร็งสำหรับเภสัชกรในทุก ๆ ปีและในปีนี้เพิ่มเติมเนื้อหามากขึ้น เพื่อเตรียมเภสัชกรสำหรับความเชี่ยวชาญพิเศษ คือ สอบเฉพาะทางของเภสัชกรโรคมะเร็ง เภสัชกรสามารถเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็ง มาตรฐานการรักษาในปัจจุบัน ทั้งการให้ยาเคมีบำบัดและยาที่ออกฤทธิ์พุ่งเป้า เสริมความรู้ที่เป็นปัจจุบัน สามารถที่จะประยุกต์ใช้ความรู้ทางเภสัชบำบัด นำไปสู่การทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อผู้ป่วยสูงสุด
วัตถุประสงค์
1.อธิบายปัจจัยเสี่ยง พยาธิกำเนิด พยาธิสรีรวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างอาการและอาการแสดง ค่าทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการประเมินผลการรักษาและการพยากรณ์โรคในผู้ป่วยมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (AML, ALL), มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (CML, CLL)มะเร็งของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Sarcoma), มะเร็งนรีเวชวิทยา (รังไข่ มดลูกและปากมดลูก: Gynecologic Malignancies), มะเร็งในเด็ก (Pediatrics Cancer), มะเร็งสมองและโพรงหลังจมูก (Head and Neck Cancer) สามารถบอกถึงการรักษาด้วยยาที่เหมาะสมของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ (โดยเฉพาะยาที่เพิ่งได้รับการอนุมัติจาก US FDA 2018-2024)
2.สามารถประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาพุ่งเป้า Pharmacogenomic in Oncology การพัฒนายารักษามะเร็งและสถิติทางการแพทย์ (Research Design, Statistics and Evaluating Oncology Literature) ได้
3.สามารถบอกถึงปัญหาในการใช้ยา (Drug related problems, DRPs) และแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหา (Supportive Cares) รวมทั้งการให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้ยารักษาโรคมะเร็งและมีผลเสียน้อยที่สุด
4.สามารถให้คำแนะนำเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือคำแนะนาสำหรับการคัดกรองโรคมะเร็งได้

คำสำคัญ
2024 Oncology Pharmacotherapy “BCOP Spotlight Series, Episode II” ,Research Design, Statistics and Evaluating Oncology Literature
วิธีสมัครการประชุม
amornratc@bumrungrad.com