บทความวิชาการ
โครงการอบรมความรู้และเพิ่มพูนทักษะเภสัชกร ด้านพิษวิทยาคลินิก EP.1-4
ชื่อบทความ โครงการอบรมความรู้และเพิ่มพูนทักษะเภสัชกร ด้านพิษวิทยาคลินิก EP.1-4
ผู้เขียนบทความ วิทยากรผู้บรรยาย 7 ท่าน
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-031-08-2566
ผู้ผลิตบทความ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 23 ส.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 22 ส.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
จากสถิติขององค์การอนามัยโรคพบว่าในปี ค.ศ. 2016 มีผู้ที่เสียชีวิตจากการได้รับสารผิดโดยไม่ได้เจตนาทั่วโลกถึง 106,683 คน และมีจำนวนของผู้ที่ทุพพลภาพจากการได้รับสารพิษจำนวนมาก คิดเป็นดัชนีปีสุขภาวะที่ปรับด้วยความบกพร่องทางสุขภาพถึง 6.3 ล้านปี ถึงแม้ว่าดัชนีชีวิตจำนวนผู้ที่ได้รับสารพิษจะไม่ชัดเจน แต่จากรายงานประจำปีของศูนย์พิษวิทยา ศิริราช และรามาธิบดี ก็มีจำนวนเฉลี่ยรวมกันประมาณ 25,000 เคสต่อปี และมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่รับปรึกษาที่ศูนย์พิษทั้งสองศูนย์เฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งนี้บุคลากรการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และนักปฏิบัติฉุกเฉินทางการแพทย์ นั้นมีส่วนจำเป็นอย่างยิ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ จึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับพิษวิทยาทางคลินิก และวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเรื่องพิษวิทยาคลินิกมีเนื้อหาที่ยากและซับซ้อน การเรียนการสอนในชั้นเรียนของบุคลกรการแพทย์แต่ละสาขาอาจไม่เพียงพอให้ผู้เรียนมีความรู้และความชำนาญ ประกอบกับผู้ป่วยที่ได้รับภาวะพิษไม่ได้มีจำนวนมากให้ศึกษาเท่ากับผู้ป่วยอื่นๆ ทั่วไป ทำให้บุคลากรการแพทย์อาจไม่มีทักษะและความชำนาญในการให้การบริบาลผู้ป่วยมากเพียงพอ นอกจากแพทย์ที่จำเป็นจะต้องให้การวินิจฉัยและรู้วิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะพิษแล้ว ยังจำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เภสัชกร และพยาบาล เพื่อช่วยบริหารยาต้านพิษ และยาอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการรักษาผู้ป่วย อนึ่ง ยาต้านพิษส่วนใหญ่เป็นยาในโครงการยากำพร้า ซึ่ง ‘ยากําพร้า’ ตามประกาศคณะกรรมการสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องบัญชีรายการ ยากําพร้า พ.ศ. 2550 นั้นหมายถึง ยาที่มีความจําเป็นต้องใช้เพื่อวินิจฉัย บรรเทา บําบัด ป้องกัน หรือรักษาโรคที่พบได้น้อย หรือโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรือโรคที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพ อย่างต่อเนื่อง หรือยาที่มีอัตราพบได้ต่ำ โดยไม่มียาอื่นมาใช้ทดแทนได้ และมีปัญหาการขาดแคลน ดังนั้นบุคลากรการแพทย์ส่วนใหญ่ รวมถึงเภสัชกร และพยาบาล อาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในการบริหารยากลุ่มนี้ การศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาความรู้และทักษะเรื่องพิษคลินิกและการบริหารยาต้านพิษ ทางศูนย์พิษวิทยาศิริราช ได้เห็นถึงข้อจำกัดนี้ และประสงค์จะเป็นผู้ให้ความรู้แก่บุคลากรการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษ เนื่องด้วยศูนย์พิษวิทยาศิริราชนั้น ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาคลินิกสหสาขาจำนวนมาก เช่น อาจารย์แพทย์ และเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเรื่องพิษวิทยาคลินิก และมีประสบการณ์ชำนาญในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภาวะพิษให้ทั้งบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป รวมทั้งยังมีการให้บริการเรื่องพิษวิทยาตลอด 24 ชั่วโมง ทางศูนย์พิษวิทยาศิริราชและผู้เกี่ยวข้อง จึงเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์เรื่องพิษวิทยาและข้อมูลยาที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการตอบแทนสังคมและเพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างองค์ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ และสามารถส่งเสริมการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะพิษในอนาคต
คำสำคัญ