บทความวิชาการ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเพื่อนำส่งยาชนิดเพิ่มระยะเวลาคงอยู่ ในกระเพาะอาหาร
ชื่อบทความ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเพื่อนำส่งยาชนิดเพิ่มระยะเวลาคงอยู่ ในกระเพาะอาหาร
ผู้เขียนบทความ ฐาปกรณ์ เจริญยิ่ง, สุภัสสร เพ็งนาม
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-1-000-007-09-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 22 ก.ย. 2566
วันที่หมดอายุ 21 ก.ย. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การบริหารยาชนิดรับปประทานรูปแบบเม็ด หรือ แคปซูล เป็นหนึ่งในยาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการนำส่งยาสำหรับการรักษา อย่างไรก็ตามระบบนำส่งยาแบบเดิมยังมีข้อจำกัดต่อยาบางประเภท เช่น ยาที่ละลายได้น้อยในสภาวะด่าง เช่น ดอมเพอริโดน โพรพราโนลอล และ ไดอะซีแพม อาจทำให้ดูดซึมได้อย่างจำกัด และนำไปสู่การลดประสิทธิภาพในการรักษาของยา เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีการพัฒนาระบบนำส่งยาชนิดเพิ่มระยะเวลาคงอยู่ในกระเพาะอาหาร (gastro-retentive drug delivery systems (GRDDS)) โดยระบบนี้ออกแบบให้เพิ่มระยะเวลาการคงอยู่ในกระเพาะได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งกับยาที่ดูดซึมได้ดีเฉพาะทางเดินอาหารส่วนต้น แต่ดูดซึมได้น้อยที่ทางเดินอาหารส่วนปลาย เทคโนโลยีนี้เหมาะสำหรับยาที่ต้องการออกฤทธิ์เฉพาะที่ในกระเพาะอาหาร รวมถึงยาที่เสื่อมสลายเมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นด่าง ปัจจุบันการพิมพ์สามมิติได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิต และมีความสามารถในการออกแบบที่ยืดหยุ่นรวมถึงการผลิตที่รวดเร็ว ดังนั้นจึงมีการนำเครื่องพิมพ์สามมิติมาประยุกต์ใช้ในการผลิตยาเพื่อนำส่งยาชนิดเพิ่มระยะเวลาคงอยู่ในกระเพาะอาหาร อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการดูดซึม และประสิทธิภาพของยาโดยรวม
คำสำคัญ
ระบบนำส่งยาชนิดเพิ่มระยะเวลาคงอยู่ในกระเพาะอาหาร: เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ: ระบบนำส่งยารูปแบบลอยตัว; ระบบนำส่งยารูปแบบความหนาแน่นสูง: ระบบนำส่งยาชนิดพองและขยายตัว