บทความวิชาการ
การทำอนุพันธ์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ทางเภสัชกรรม
ชื่อบทความ การทำอนุพันธ์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ทางเภสัชกรรม
ผู้เขียนบทความ อ.ภญ.สิริกัญญา แก้วประดิษฐ์
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-1-000-005-09-2566
ผู้ผลิตบทความ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 20 ก.ย. 2566
วันที่หมดอายุ 19 ก.ย. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การทำอนุพันธ์ (derivatization) เป็นการทำปฏิกิริยาระหว่างตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์กับสารที่ใช้ในปฏิกิริยาทำให้เกิดอนุพันธ์ (derivatizing agent) เพื่อเพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ เช่น ระเหยได้ง่ายขึ้น (volatility) เพิ่มความไว (sensitivity) เพิ่มความคงตัว (stability) หรือเพิ่มความจำเพาะ (selectivity) เป็นต้น ซึ่งทำได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ pre-column derivatization, post-column derivatization และ on-column derivatization ทั้งนี้ สารที่เลือกใช้เป็น derivatizing agent จำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ non-fluorescent reagents, fluorescent reagents, fluorogenic reagents และสารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาอนุพันธ์ผ่านปฏิกิริยารีด็อกซ์ โดยในทางเภสัชกรรมมีการใช้การทำอนุพันธ์เพื่อช่วยในการวิเคราะห์กับเทคนิควิเคราะห์หลายประเภท เช่น การทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ระเหยง่ายขึ้นและคงทนต่ออุณหภูมิมากขึ้นใน gas chromatography (GC) การทำให้สารที่สนใจมี chromophore เพื่อการวิเคราะห์ใน UV-Vis Spectroscopy และการติดสารที่มี fluorophore เพื่อการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค fluorescence spectroscopy ทั้งนี้ การเลือกใช้ derivatizing agent ต้องคำนึงถึงความเข้ากันได้ของชนิดของปฏิกิริยาและผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นต่อเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ รวมไปถึงความจำเป็นในการทำอนุพันธ์เพื่อใช้ในเทคนิควิเคราะห์นั้นๆด้วย
คำสำคัญ
derivatization, pharmaceutical analysis, sample preparation, sensitivity