บทความวิชาการ
มะระขี้นก : องค์ประกอบทางพฤกษเคมี ฤทธิ์ทางชีวภาพ การสกัด และผลิตภัณฑ์
ชื่อบทความ มะระขี้นก : องค์ประกอบทางพฤกษเคมี ฤทธิ์ทางชีวภาพ การสกัด และผลิตภัณฑ์
ผู้เขียนบทความ ชุติมา ลิ้มมัทวาภิรัติ์; สนทยา ลิ้มมัทวาภิรัติ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-1-000-008-09-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 26 ก.ย. 2566
วันที่หมดอายุ 25 ก.ย. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
มะระขี้นก (Momordica charantia L.) เป็นพืชที่นิยมนำผลดิบมาบริโภคเป็นอาหาร องค์ประกอบทางพฤกษเคมีที่พบในมะระขี้นก เช่น cucurbitane-type triterpenoids, glycosides, phenolic compounds มะระขี้นกมีความปลอดภัยในการนำมาบริโภคหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ถึงแม้ว่ามะระขี้นกจะมีรสขมแต่ก็มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีสรรพคุณทางยา สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามข้อมูลการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครและแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะระขี้นกมีค่อนข้างจำกัด ดังนั้นบทความนี้จึงเน้นถึงรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางพฤกษเคมีที่สัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านเบาหวาน ฤทธิ์ต้านคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ฤทธิ์ต้านโรคอ้วน และฤทธิ์ต้านมะเร็ง ครอบคลุมถึงกระบวนการสกัด การทำแห้ง และการห่อหุ้มสารสกัดมะระขี้นก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารสกัดมะระขี้นก การควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยในการบริโภคมะระขี้นก
คำสำคัญ
มะระขี้นก; องค์ประกอบทางพฤกษเคมี; ฤทธิ์ทางชีวภาพ; การสกัด; ผลิตภัณฑ์