บทความวิชาการ
เจลชนิดเคี้ยวและการประยุกต์ใช้ในทางเภสัชกรรมและโภชนเภสัช
ชื่อบทความ เจลชนิดเคี้ยวและการประยุกต์ใช้ในทางเภสัชกรรมและโภชนเภสัช
ผู้เขียนบทความ รองศาสตราจารย์ ดร. อรสร สารพันโชติวิทยา, ภ.บ., ปร.ด. ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รหัสกิจกรรม 1007-1-000-002-10-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 31 ต.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 30 ต.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เจลชนิดเคี้ยว (chewable gels) เป็นรูปแบบเภสัชภัณฑ์ทางเลือกที่ได้รับการพัฒนาขึ้นให้มีความแตกต่างจากรูปแบบเภสัชภัณฑ์ที่บริหารทางการรับประทานแบบดั้งเดิม เช่น ยาเม็ด ยาแคปซูลแข็ง และยาแคปซูลนิ่ม มีการนำความรู้เรื่องเจลชนิดเคี้ยวมาประยุกต์ใช้ทั้งในทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical) และโภชนเภสัช (Nutraceuticals) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็ก และผู้สูงอายุ รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการกลืนลำบาก เจลชนิดเคี้ยวเตรียมได้จากสารก่อเจลหลากหลายชนิด รวมทั้งเจลาตินซึ่งนิยมใช้มากที่สุด การผสมยาหรือสารออกฤทธิ์ในตำรับเจลชนิดเคี้ยวอาจเตรียมในรูปแบบอนุภาคที่กระจายตัวหรือละลายในวัฏภาคน้ำหรือน้ำมัน หรือรูปแบบไขมันหรือน้ำมัน (lipid) ในอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W) อย่างไรก็ตาม ยาหรือสารออกฤทธิ์ที่นำมาเตรียมตำรับอาจไม่มีรสชาติ หรือมีรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ บางชนิดไม่คงตัวและเสื่อมสลายได้ง่าย หรือมีผลต่อคุณสมบัติการเกิดเจล เมื่อนำมาเตรียมในรูปแบบเจลชนิดเคี้ยว แนวทางการแก้ไขจะดำเนินการเฉพาะกรณีไป เช่น การปรับ pH การใช้ระบบบัฟเฟอร์ การแต่งกลิ่นรสหรือบดบังรสชาติ การเติมสารเพิ่มความคงตัว หรือใช้เทคนิคการห่อหุ้มหรือเอนแคปซูเลชัน (encapsulations) ซึ่งในปัจจุบันการนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ผ่านตำรับเจลชนิดเคี้ยวยังคงได้รับความสนใจและมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คาดว่าในอนาคตจะเป็นรูปแบบทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ
คำสำคัญ
เจลชนิดเคี้ยวและการประยุกต์ใช้ในทางเภสัชกรรม