บทความวิชาการ
การพัฒนายาชีววัตถุคล้ายคลึง: ถึงเวลาเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Biosimilars development: Time for a paradigm shift)
ชื่อบทความ การพัฒนายาชีววัตถุคล้ายคลึง: ถึงเวลาเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Biosimilars development: Time for a paradigm shift)
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.ภญ.สุนทรา เอกอนันต์กุล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-1-000-008-11-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 21 พ.ย. 2566
วันที่หมดอายุ 20 พ.ย. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยาชีววัตถุคล้ายคลึง (biosimilars) คือชีวเภสัชภัณฑ์ (biopharmaceuticals) ที่เข้ามามีบทบาทในการรักษาโรคในปัจจุบัน และมีการใช้ยาชีววัตถุคล้ายคลึงแทนยาต้นแบบ (originator products) มากขึ้น ซึ่งการกำกับดูแลยาชีววัตถุคล้ายคลึง มีความแตกต่างจากแนวทางการกำกับดูแลยาสามัญ (generic drugs) ที่เป็นยาเคมี เนื่องจากยาชีววัตถุคล้ายคลึงมีคุณลักษณะทางเคมี กายภาพ โครงสร้าง และฤทธิ์ทางชีวภาพที่แตกต่างจากยาเคมีโดยสิ้นเชิง ทำให้องค์กรที่กำกับดูแลการขึ้นทะเบียนยาได้พัฒนาแนวทางการกำกับดูแลการขึ้นทะเบียนยาชีววัตถุคล้ายคลึง เพื่อให้ยาชีววัตถุคล้ายคลึงที่ผ่านการขึ้นทะเบียนมีคุณภาพ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างไปจากยาต้นแบบ ตลอดระยะที่ผ่านมาแนวทางการกำกับดูแลขององค์กรต่าง ๆ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะแนวทางขององค์การอนามัยโลกที่มีการปรับปรุงใน ค.ศ. 2022 (1) ดังนั้นบทความนี้จะอธิบายความแตกต่างในประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงหลักการในการขึ้นทะเบียนยาชีววัตถุคล้ายคลึงที่มีข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไป
คำสำคัญ
ยาชีววัตถุคล้ายคลึง แนวทางการขึ้นทะเบียน biosimilars, regulatory pathway