บทความวิชาการ
การรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังด้วยยารักษาไวรัสตับอักเสบซีชนิดใหม่ (Direct acting antiviral: DAA)
ชื่อบทความ การรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังด้วยยารักษาไวรัสตับอักเสบซีชนิดใหม่ (Direct acting antiviral: DAA)
ผู้เขียนบทความ ภญ.นภาพักตร์ โยธารักษ์, ผศ.ภก.ทวนธน บุญลือ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-1-000-006-11-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 30 พ.ย. 2566
วันที่หมดอายุ 29 พ.ย. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ไวรัสตับอักเสบซี (hepatitis C virus หรือ HCV) เป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับอักเสบ โรคตับแข็งและมะเร็งตับ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะเฉียบพลัน (acute HCV infection) และระยะเรื้อรัง (chronic HCV infection) การติดเชื้อในระยะแรกผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการและสามารถกําจัดเชื้อออกจากร่างกายได้เองภายในระยะเวลา 6 เดือนแม้ไม่ได้รับการรักษา แต่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีการดําเนินของโรคเป็นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวทางในการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังด้วยสูตรยาหลัก คือ ยากลุ่ม direct acting antiviral (DAA) ในรูปแบบยารับประทานสูตรรวมเม็ด (Sofosbuvir + Velpatasvir) โดยรับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการประเมินความร่วมมือในการรับประทานยา การให้คำปรึกษาเรื่องยา การให้ความรู้ในเรื่องอันตรกิริยาระหว่างยาและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ผู้ป่วยหายขาดจากโรค ไม่มีการกำเริบของภาวะตับอักเสบ มีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
คำสำคัญ
ไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ยารักษาไวรัสตับอักเสบซีชนิดใหม่ chronic hepatitis C virus, direct acting antiviral, sofosbuvir, velpatasvir