บทความวิชาการ
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและกลไกการออกฤทธิ์ของยา Brexanolone ในการรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ชื่อบทความ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและกลไกการออกฤทธิ์ของยา Brexanolone ในการรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.ภญ. คณาทิพย์ สิงห์สาย
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-1-000-002-12-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 02 ธ.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 01 ธ.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression; PPD) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ reproductive hormones การอักเสบของระบบประสาท (neuroinflammation) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท (neurotransmitters) โดยภาวะดังกล่าวจะเกิดในช่วง peripartum period นั้นคือระยะเวลาก่อนคลอด 1 เดือนและ 2 – 3 สัปดาห์หลังคลอด ที่เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนอย่างฉับพลันและรุนแรง ส่งผลให้อารมณ์มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งภาวะดังกล่าวมักจะทำให้มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ร้องไห้บ่อย อ่อนไหวง่าย บางครั้งหงุดหงิด ความผูกพันกับลูกหายไป มักจะมีตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน และจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องไม่สามารถหายเองได้ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาและศึกษายาที่ใช้ในการรักษาภาวะดังกล่าว โดยในปี พ.ศ. 2562 องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับรองยาใหม่คือ Brexanolone ที่เป็นยาฉีดกลุ่ม positive allosteric ที่ออกฤทธิ์ต่อ GABAA receptor ตัวแรกที่มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดระดับปานกลางถึงรุนแรงในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม Brexanolone การศึกษาในปัจจุบันยังมีจำกัด อีกทั้งการใช้ยาเกินขนาดอาจส่งผลให้เกิดอาการกดประสาทมากเกินไป และหมดสติ
คำสำคัญ
Postpartum depression, Brexanolone, GABA receptor positive allosteric modulator