บทความวิชาการ
การทดสอบการซึมผ่านผิวหนังในหลอดทดลองด้วย Franz diffusion cells
ชื่อบทความ การทดสอบการซึมผ่านผิวหนังในหลอดทดลองด้วย Franz diffusion cells
ผู้เขียนบทความ ดร.ภก.กำชัย แซ่ปัง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-1-000-003-12-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 05 ธ.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 04 ธ.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ข้อมูลการซึมผ่านผิวหนังในหลอดทดลองเป็นคุณลักษณะเชิงคุณภาพที่บ่งบอกถึงอัตราและปริมาณการซึมผ่านผิวหนังของยา จึงมีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาเภสัชภัณฑ์สำหรับใช้ที่ผิวหนังหรือนำส่งผ่านผิวหนัง การทดสอบการซึมผ่านผิวหนังด้วยเซลล์การแพร่ฟรานส์ (Franz diffusion cells) เป็นวิธีการทดสอบการซึมผ่านในหลอดทดลองที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อดำเนินการทดสอบการซึมผ่านผิวหนังด้วย Franz diffusion cells ในสภาวะที่เหมาะสมจะทำให้ได้ข้อมูลการซึมผ่านผิวหนังของยาที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์ต่อการทำนายความสัมพันธ์การซึมผ่านผิวหนังของยาระหว่างในหลอดทดลองและในร่างกาย (in vitro - in vivo relationship) ดังนั้นในบทความนี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบในการทดสอบการซึมผ่านผิวหนังด้วย Franz diffusion cells ประกอบด้วย Franz diffusion cells ที่ใช้ในการทดสอบ ตัวอย่างผิวหนัง การทดสอบความสมบูรณ์ของผิวหนัง (skin integrity testing) สารละลายตัวรับ (receiver solution) อุณหภูมิ แบบแผนการทายา (dosing regimen) ระยะเวลาในการทดสอบและความถี่ในการสุ่มตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณยาที่ซึมผ่านผิวหนัง ตลอดจนการประเมินผลกราฟข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่ซึมผ่านผิวหนังสะสมของยาต่อหน่วยพื้นที่กับเวลา (cumulative permeated amount per area vs. time) ที่ได้รับจากการทดสอบเป็นค่าพารามิเตอร์การซึมผ่านผิวหนังที่สำคัญต่าง ๆ ได้แก่ อัตราการซึมผ่านผิวหนังต่อหน่วยพื้นที่และเวลา ที่เรียกว่า ฟลักซ์ (flux, J) สัมประสิทธิ์การซึมผ่านผิวหนัง (permeability coefficient, P) ระยะเวลาก่อนถึงสถานะคงตัวของการซึมผ่านผิวหนัง (lag time, L) และสัมประสิทธิ์การแพร่ (diffusion coefficient, D)
คำสำคัญ
การซึมผ่านผิวหนัง, การทดสอบการซึมผ่านผิวหนังในหลอดทดลอง, เซลล์การแพร่ฟรานส์, Franz diffusion cells