บทความวิชาการ
การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะ Augmented Renal Clearance
ชื่อบทความ การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะ Augmented Renal Clearance
ผู้เขียนบทความ นพคุณ สุคนธา, ศวิตา พินพาท, เด่นพงศ์ พัฒนเศรษฐานนท์*
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-1-000-002-12-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 28 ธ.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 27 ธ.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ประเด็นของ Augmented Renal Clearance (ARC) ได้ถูกนำเสนอมาตั้งแต่ช่วงปลาย ค.ศ.19701 แต่ไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งในปี 2010 ภาวะ ARC ได้กลับมาเป็นที่ตระหนักถึงเมื่อ Andrew A. Udy ได้นำเสนอ Case series การเกิดภาวะ ARC ในหอผู้ป่วยวิกฤต2 โดยที่ ARC เป็นภาวะที่มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการกรองของไตเมื่อเทียบกับภาวะปกติ ซึ่งถูกนิยามว่าคือปรากฏการณ์ที่มีการเพิ่มขึ้นของ creatinine clearance มากกว่า 130 mL/min/1.73 m2 โดยพบว่าในผู้ป่วยวิกฤตอุบติการณ์การเกิด ARC ถึงร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 653 สำหรับการวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐานคือการวัด 24-hr creatinine clearance (CLcr24hr) แต่เนื่องจากการวัด CLcr24hr นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้เวลานานในการตรวจวัดอีกทั้งยังไม่นิยมปฏิบัติโดยทั่วไป จึงมีการใช้ 8-hr creatinine clearance (CLcr8hr) ทดแทนซึ่งพบว่ามีสหสัมพันธ์และความสอดคล้องที่สูงกับ CLcr24hr ในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต4 ขณะที่การใช้ estimate GFR (eGFR) สามารถใช้เป็นเป็นเครื่องมือในการคัดกรองสำหรับภาวะ ARC ได้โดยเฉพาะสมการของ Cockcroft-Gault ที่มีสหสัมพันธ์และความสอดคล้องที่ดีกับ CLcr24hr5 ผู้ป่วยที่มีภาวะ ARC มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้ระดับยาในกระแสเลือดอยู่ต่ำกว่าช่วงการรักษา เนื่องจากจากภาวะ ARC จะส่งผลทำให้เพิ่มอัตราการขับออกของยาผ่านทางไตซึ่งจะทำให้ปริมาณยาในกระแสเลือดลดลง ซึ่งอาจทำให้ไม่เห็นผลการรักษาโดยเฉพาะการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีความจำเป็นในการปรับขนาดยาหรือความถี่ในการบริหารยาให้เหมาะสมเพื่อที่จะสามารถทำให้ผู้ป่วยมีผลการรักษาที่ดีและเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาน้อยที่สุด
คำสำคัญ
การปรับขนาดยา, ผู้ป่วย, Augmented Renal Clearance