บทความวิชาการ
โรคอ้วนและแนวทางการรักษาด้วยยา
ชื่อบทความ โรคอ้วนและแนวทางการรักษาด้วยยา
ผู้เขียนบทความ ภญ.พิชาวีร์ โควเศรษฐพล , รศ.ภญ.สุณี เลิศสินอุดม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สถาบันหลัก มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน
รหัสกิจกรรม 5004-1-000-001-12-2566
ผู้ผลิตบทความ มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 30 ธ.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 29 ธ.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติ หรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญ จึงสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคอ้วนสามารถพิจารณาได้จากค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) โดย WHO ได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยโรคอ้วนคือผู้ที่มีค่า BMI ตั้งแต่ 30 kg/m2 ขึ้นไป โรคอ้วนมีสาเหตุจากหลายประการ เช่น พันธุกรรม ความผิดปกติของการควบคุมความหิว-อิ่ม ระบบต่อมไร้ท่อ ปัจจัยด้านจิตวิทยา หรือการได้รับยาบางชนิด โรคอ้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือส่งผลต่อจิตใจได้ การจัดการโรคอ้วนสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยลดพลังงานจากการบริโภคอาหารเดิมอย่างน้อย 500-1,000 kcal/day จากปกติ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัด เป็นต้น โดยจะพิจารณาให้ผู้ป่วยโรคอ้วนได้รับการรักษาด้วยยาเมื่อมีค่า BMI ≥30 kg/m2 หรือ BMI ≥27 kg/m2 ร่วมกับมีโรคอื่นร่วมอื่นที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับยาที่ได้รับรองสำหรับการลดน้ำหนักในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกใช้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
โรคอ้วน , การรักษาด้วยยา , BMI