บทความวิชาการ
การใช้กัญชาทางการแพทย์ในการรักษาอาการปวดเรื้อรัง
ชื่อบทความ การใช้กัญชาทางการแพทย์ในการรักษาอาการปวดเรื้อรัง
ผู้เขียนบทความ ภญ.สุธิดา ปาบุตร, ผศ.ภก.ทวนธน บุญลือ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-1-000-001-01-2567
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 02 ม.ค. 2567
วันที่หมดอายุ 01 ม.ค. 2568
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ปัจจุบันได้มีการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย โดยนำสารประกอบ cannabinoids ชนิด Δ9 tetrahydrocannabinol (THC) ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด และสาร cannabidiol (CBD) ที่ไม่มีฤทธิ์เสพติด มาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์มากที่สุด การออกฤทธิ์ผ่าน cannabinoid receptor ในสมองและร่างกาย มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจ ความจำ ความเข้าใจ อารมณ์ การรับรู้ความปวดและการเคลื่อนไหว คุณสมบัติของสาร THC และ CBD มีการดูดซึมได้เร็วในรูปแบบการสูดดม การให้ทางทวารหนักและการให้หยอดใต้ลิ้น ละลายในไขมันได้สูง สามารถสะสมในร่างกายได้ ยาถูกเมทตะบอลิซึมผ่าน CYP450 ขับออกทางไตและน้ำดี สาร THC กระตุ้น CB1 receptor ลดการหลั่ง glutamate เพื่อบรรเทาอาการปวด ส่วนสาร CBD มีฤทธิ์ระงับปวดผ่านการกระตุ้น TRPV1 receptor ปัจจุบันคำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์แนะนำให้ใช้บรรเทาอาการปวดในภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งและภาวะปวดประสาทส่วนกลาง โดยแนะนำให้ใช้สารสกัดกัญชาในอัตราส่วน THC:CBD เป็น 1:1 ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีมาตรฐานอย่างเหมาะสมแล้วไม่ได้ผล ข้อมูลการศึกษาไม่แนะนำให้ใช้สารสกัดกัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชาในรูปแบบการสูดดม การใช้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตเวช เนื่องจากมีข้อมูลการศึกษาจำกัด การใช้สารสกัดกัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชาในประเทศไทยต้องมีการระมัดระวัง เนื่องจากมีแนวโน้มการใช้ไม่ตรงตามข้อบ่งชี้การใช้ยา การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน และเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้สารสกัดกัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชาจำนวนมาก
คำสำคัญ
Δ9 tetrahydrocannabinol (THC), Cannabidiol (CBD), กัญชาทางการแพทย์, ความปวดเรื้อรัง