บทความวิชาการ
การนำมาตรฐานการจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drug : HAD) สู่การปฏิบัติ
ชื่อบทความ การนำมาตรฐานการจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drug : HAD) สู่การปฏิบัติ
ผู้เขียนบทความ ภก.สุนทร ปภานิธินันท์
สถาบันหลัก สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
รหัสกิจกรรม 5002-1-000-004-02-2567
ผู้ผลิตบทความ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 12 ก.พ. 2567
วันที่หมดอายุ 11 ก.พ. 2568
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
บทความนี้จะกล่าวถึงการทำความเข้าใจเป้าหมายของมาตรการ การจัดการยาที่ต้องระมัดระวังในการใช้สูง หรือ ยาที่มีความเสี่ยงสูง ที่อยู่ในมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (มาตรฐาน HA) ฉบับที่ 5 ซึ่งในมาตรฐานจะไม่ได้จัดหมวดหมู่โดยเฉพาะให้เห็นได้ชัดเจนตรงไปตรงมา ผู้เขียนจึงได้รวบรวมมาตรการต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ในหัวข้อต่างๆ ของมาตรฐานฉบับนี้ ซึ่งอยู่ในส่วนของ II-6 ระบบการจัดการด้านยา (Medication Management System) โดยจะเน้นการตีความมาตรฐานและนำมาออกแบบกระบวนการต่างๆ ด้วยความเข้าใจ นำเสนอหลุมพลางจากประประสบการณ์ในการเยี่ยมสำรวจที่พบได้บ่อยในมาตรการต่างๆ ที่โรงพยาบาลได้พยายามออกแบบ โดยบทความนี้จะเน้นตั้งแต่ การตีความมาตรฐาน การทำความเข้าใจกับนิยามของ HAD ในมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (มาตรฐาน HA) ฉบับที่ 5 ที่กว้างขวางขึ้นจากฉบับที่ 4 นอกจากการตีความคำนิยามแล้ว และการนำคำนิยามมาสู่การกำหนด รายการยา HAD ที่สอดคล้องเหมาะสมกับคำนิยามใหม่ได้ รวมทั้งการทำความเข้าใจกับระบบการตรวจสอบซ้ำและประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบซ้ำแบบบต่างๆ ที่จะนำมาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ HAD ในแต่ละรายการ แนวคิดในการจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูงในภาพรวมและ แนวคิดการอออกแบบการประเมินและวัดผลของกระบวนการการจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูงอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
คำนิยามของยาที่ต้องระมัดระวังในการใช้สูง, ยาที่มีความเสี่ยงสูง, High Alert Drug : HAD, ยาที่ต้องระมัดระวังสูง