บทความวิชาการ
การทำวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนางานบริการเภสัชกรรม
ชื่อบทความ การทำวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนางานบริการเภสัชกรรม
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.ภญ.กฤษณี สระมุณี
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รหัสกิจกรรม 1009-1-000-002-12-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 21 ธ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 20 ธ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
“การวิจัยเชิงปฏิบัติการ” (action research) เป็นรูปแบบการวิจัยที่มีความนิยมใช้เพิ่มมากขึ้นในการพัฒนางานบริการเภสัชกรรม การวิจัยเชิงปฏิบัติการ หมายถึง วิธีการการวิจัยที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบที่อาศัยความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาช่วยกันจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในงาน โดยมีจุดหมายเพื่อให้ปัญหาของงานได้รับการแก้ไขและเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง มีวงล้อของการดำเนินการวิจัย 4 ขั้น ตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart ได้แก่ การวางแผน (planning) การปฏิบัติ (action) การสังเกต (observing) และการสะท้อนผลการปฏิบัติ (reflecting) โดยในแต่ละขั้นของการวิจัยนั้นผู้วิจัยสามารถเลือกใช้รูปแบบการวิจัยใด ๆ ก็ได้มาบูรณาการร่วมด้วยตามความเหมาะสม คุณลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีสองประการ คือ วงล้อการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และการมีส่วนร่วมของการทำวิจัยระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับนักวิจัย คุณสมบัติดังกล่าวทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่ตรงจุด และผลการศึกษานั้นสามารถนำไปใช้ได้จริงในการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ