การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรม ครั้งที่ 13/2560 เรื่อง “วิธีทางสถิติสำหรับการจัดการเภสัชกรรม”
ชื่อการประชุม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรม ครั้งที่ 13/2560 เรื่อง “วิธีทางสถิติสำหรับการจัดการเภสัชกรรม”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-011-02-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่จัดการประชุม 15 ก.พ. 2560 - 07 เม.ย. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรจากกระทรวงสาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัย คณาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวนประมาณ 10
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การความรู้ความก้าวหน้าในทางการแพทย์ เภสัชกรรม และระบบสุขภาพในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการวิจัยเป็นหลักสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเชิงปริมาณที่มีส่วนสำคัญคือการใช้สถิติในการวิจัยในด้านเภสัชกรรมปฏิบัติ เภสัชกรควรจะมีองค์ความรู้ในการใช้สถิติในการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การศึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาล การศึกษาการให้ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย เป็นต้น ผลที่ได้จากการวิจัยจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย ไปจนกระทั่งถึงการบริหารจัดการในองค์กรและหน่วยงานต่อไป โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการวิธีทางสถิติสำหรับการจัดการเภสัชกรรม จะมุ่งเน้นตั้งแต่แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางสถิติ การใช้สถิติตั้งแต่สถิติพรรณนา สถิติที่ไม่ใช้พารามิเตอร์ สถิติพารามิเตอร์พื้นฐานที่สำคัญจนถึงการวิเคราะห์แบบตัวแปรพหุ สถิติที่ใช้ในการประเมินความเที่ยงและความตรงของเครื่องมือวัดชนิดแบบสอบถาม โดยเน้นแนวคิดหลักในการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมกับกรณีต่าง ๆ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล แปลผล และนำเสนอข้อมูลได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังมีการคำนวณขนาดตัวอย่างในการวิจัยรูปแบบต่าง ๆ ด้วย เภสัชกรที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้จะสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยต่อไปได้
วัตถุประสงค์
1. สามารถเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับระดับการวัดของตัวแปรและลักษณะการกระจายของข้อมูล
2. มีแนวคิดในการนำเข้าข้อมูลให้เหมาะสมกับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Microsoft Excel, Microsoft Access ไปยัง SPSS หรือ Stata
3. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ได้แก่ Microsoft Excel, SPSS หรือ Stata และแปลผลการวิเคราะห์ของโปรแกรมเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง
4. สามารถนำผลการวิเคราะห์จากโปรแกรม SPSS หรือ Stata มาทำรายงานการวิจัยอย่างเหมาะสม และนำผลวิเคราะห์เชื่อมโยงไปสู่โปรแกรม Microsoft Excel, Microsoft Word และ Microsoft Powerpoint ซึ่งนำเสนอผลได้อย่างเหมาะสม
5. สามารถใช้สถิติในการประเมินความเที่ยงและความตรงของเครื่องมือวัดชนิดแบบสอบถาม
6. สามารถคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับรูปแบบการวิจัยที่ใช้บ่อย และสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการคำนวณขนาดตัวอย่างได้
คำสำคัญ
วิธีทางสถิติ, การจัดการเภสัชกรรม
วิธีสมัครการประชุม
Online