การประชุมวิชาการ
การประชุมราชการเพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี ๒๕๖๐
ชื่อการประชุม การประชุมราชการเพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี ๒๕๖๐
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-026-02-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม
วันที่จัดการประชุม 20 ก.พ. 2560 - 21 มี.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ด้วยสภาพการณ์ปัจจุบันภายหลังจากที่มีการปฏิรูประบบสาธารณสุข ทำให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กรและหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค มีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหลายด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการงบประมาณ ระบบการกระจายวัคซีนด้วยระบบใหม่ ระบบการนิเทศ ควบคุมกำกับประเมินผล ความหลากหลายการให้บริการมีมากขึ้น รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของบุคลากร การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังกล่าวล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการวัคซีนเป็นอย่างมาก จากการสำรวจความครอบคลุมการได้รับวัคซีนครั้งล่าสุดเมื่อปี 2556 พบว่า ในภาพรวมความครอบคลุมการได้รับวัคซีนทุกชนิด ทั้งในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยเรียนมีระดับสูงเกินกว่าร้อยละ 90 แต่ยังพบเด็กกลุ่มเป้าหมายไม่ได้รับวัคซีน ปัญหาความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดในบางพื้นที่ ซึ่งมักพบใน กลุ่มชุมชนแออัด กลุ่มแรงงานเคลื่อนย้าย กลุ่มที่อาศัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถิ่นทุรกันดารหรือชายขอบ ซึ่งทำให้ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดการเร่งรัดการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับประชาชนชาวไทย คงรักษาระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการป้องกันไม่ให้โรคติดต่อที่มีแนวโน้มลดลงหรือหมดไปแล้วกลับมาระบาดขึ้นใหม่ จนเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขของประเทศต่อไป จึงจำเป็นต้องสุ่มสำรวจเพื่อเร่งรัดระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนให้ได้ตามเกณฑ์ ซึ่งในปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านมา จากข้อมูลผลการดำเนินงานของ สคร.7 ได้ดำเนินการออกสุ่มสำรวจความครอบคลุมการได้รับวัคซีนที่ 9 จังหวัด พบว่า มีความครอบคลุมผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ดี แต่ก็ยังพบเด็กบางคนที่ได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วน การสำรวจพื้นที่ในชุมชนซึ่งประวัติการได้รับวัคซีนของเด็กไม่ได้ระบุแน่ชัด ในเขตเมืองผู้รับบริการส่วนใหญ่มักจะไปรับบริการที่คลินิกเอกชน โรงพยาบาลเอกชน ประวัติการวัคซีนป้องกันโรคไม่ระบุ/บันทึก/ไม่ติดตาม ดังนั้น ควรเร่งรัดการติดตามความครอบคลุมการรับวัคซีนเด็กในพื้นที่ให้เป็นข้อมูลปัจจุบัน กรณีเด็กย้ายที่อยู่ติดตามผู้ปกครองไปทำงานแล้วกลับมาพื้นที่จะพลาดการรับวัคซีนได้ ในด้านการจัดระบบการประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสถานบริการระดับต่างๆ เพื่อให้หน่วยงานเครือข่ายระดับเขต จังหวัด และอำเภอ สามารถติดตามประเมินการปฏิบัติงานเครือข่ายบริการในพื้นที่ให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด และในปัจจุบัน กรมควบคุมโรคได้ดำเนินโครงการนำร่องการให้วัคซีนเพิ่มเติม ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จึงควรมีการเยี่ยมนิเทศติดตามความก้าวหน้า ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงานตามโครงการ ผลที่ได้จากการสุ่มสำรวจ นิเทศติดตาม และประเมินผลจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้มีประสิทธิภาพต่อไป รวมถึงการดำเนินงานโครงการกวาดล้างโปลิโอและโรคหัดซึ่งเป็นพันธะสัญญาระหว่างประเทศนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เพื่อกำหนดแนวทางและประสานเครือข่ายให้สามารถบริหารจัดการและขับเคลื่อนการดำเนินงานกวาดล้างโปลิโอและโรคหัดในประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จตามพันธะสัญญาที่ให้ไว้กับนานาชาติ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเร่งรัดระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายกรมควบคุมโรคกำหนด
2. การดำเนินงานวัคซีน HPV เข้าแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
3. การดำเนินงานจัดตั้งคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ (Adult Vaccination Clinic)
คำสำคัญ
งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค, Vaccination Clinic