การประชุมวิชาการ
Getting HIV “Together To Zero”
ชื่อการประชุม Getting HIV “Together To Zero”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รหัสกิจกรรม 1007-2-000-018-07-2561
สถานที่จัดการประชุม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
วันที่จัดการประชุม 15 ส.ค. 2561
ผู้จัดการประชุม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ แพทย์ใช้ทุน เภสัชกร และพยาบาลที่รับผิดชอบคลินิกยาด้านไวรัสเอดส์ โรงพยาบาลอำเภอ 8 อำเภอในจังหวัดและโรงพยาบาลจังหวัด
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก เป็นโรงพยาบาลศูนย์ในเขตภาคเหนือตอนล่างมีผู้ติดเชื้อ เอชไอวีรับประทานยาต้านไวรัสต่อเนื่องจํานวน 3,000คน (มีนาคม 2561) ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา มีการ เปลี่ยนแปลงแนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ทั้งด้านการเริ่มยาต้านไวรัส สูตรยาต้านไวรัส ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์รวมทั้งการประเมินโรคฉวยโอกาส นอกจากนี้ยังพบว่าจํานวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ยังคงมีต่อเนื่องและพบในเด็กและเยาวชนที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ รวมทั้งมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ อุบัติกลับขึ้นมาใหม่อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เช่น ซิฟิลิส หูดหงอนไก่ เป็นต้น
การดูแล รักษา และหาแนวทางเพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์และผู้ป่วยที่มีโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์เข้าถึงระบบการรักษาเป็นเรื่องที่มีความสําคัญเพื่อเป็นการลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย ใน ขณะเดียวกันการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ก็เป็นเรื่องที่มีความสําคัญเป็นอย่างมาก รวมถึงการคํานึงถึง ปัจจัยองค์ประกอบอื่นที่มีความสําคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือการดูแลผู้ป่วยเป็นองค์รวม เพื่อคงคุณค่า ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยแนวคิดนี้ควรมีความเชื่อมโยงและสอดประสานกับ โรงพยาบาลที่เป็นเครือข่ายการดูแลร่วมกันทั้งโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดพิษณุโลก และโรงพยาบาลจังหวัดใน เขตสํานักงานหลักประกันสุขภาพที่ 2 ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก
เหตุผลดังกล่าว หน่วยปรึกษาสุขภาพ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จึงจัดโครงการ Getting HIV “Together To Zero” เพื่อร่วมประชุม ปรึกษา วิเคราะห์ หาแนวทาง และเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งในด้านแนวทางในการลดผู้ติดเชื้อรายใหม่ แนวทางให้ผู้ติดเชื้อได้เข้าระบบการรักษาโดยเร็ว และการดูแล รักษาผู้ติดเชื้อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อภายไป ภายใต้แนวคิด “Together To Zero”

วัตถุประสงค์
1. ผู้เข้ารับการอบรมมี ทักษะ แนวคิด ในการป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รวมทั้งค้นหา ผู้ติดเชื้อรายใหม่เข้าระบบการรักษา
2. ผู้เข้ารับการอบรมได้ร่วมกันประชุม ปรึกษา วิเคราะห์ รวมทั้งเพิ่มทักษะในการตรวจ รักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
คำสำคัญ
เอชไอวี