การประชุมวิชาการ
การอบรม “21st Bangkok International Symposium on HIV Medicine”
ชื่อการประชุม การอบรม “21st Bangkok International Symposium on HIV Medicine”
สถาบันหลัก ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
รหัสกิจกรรม 0001-2-000-001-01-2562
สถานที่จัดการประชุม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 16 -18 ม.ค. 2562
ผู้จัดการประชุม ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่าง ไทย - ออสเตรเลีย - เนเธอร์แลนด์ เพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ (HIV-NAT)
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้สนใจจำนวน 400-500 คน แพทย์จากต่างประเทศในเอชีย จำนวน 200-300 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ของโรคเอดส์ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ และผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ทั่วโลกดีขึ้นมาก ตั้งแต่เริ่มมีการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์อย่างกว้างขวางกับผู้ติดเชื้อในประเทศกำลังพัฒนา ตั้งแต่ปี พ.ศ 2546 เป็นต้นมา
ในปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อจากประเทศกำลังพัฒนาได้รับยาต้านไวรัสเอดส์เพิ่มขึ้นจาก 1 ล้านคน เป็น 8 ล้านคน อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกปีละ 2 ล้านกว่าคน ในขณะที่คนไทยติดเชื้อใหม่ชั่วโมงละเกือบ 2 คน
แสดงว่ายังมีคนอีกจำนวนมากยังไม่ตระหนัก ยังไม่ป้องกันตัว และ 8 ใน 10 คน ที่ติดเชื้ออยู่แล้วทั่วโลกในขณะนี้ยังไม่รู้ตัวเองติดเชื้อเพรระาไม่เคยไปตรวจเลย
ดังนั้นการทำให้คนที่ติดเชื้อเอชไอวีอยู่แล้ว รู้ตัว จึงเป็นมาตราการสำคัญสำคัญที่สุดในการป้องกันการเผยแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ปัญหาที่ท้ายในปัจจุบบันคือจะทำให้คนที่อาจมีเชื้อเอชไอวีอยู่ในตัวแล้ว ในขณะนี้มีความตระหนักไปตรวจเอดส์โดยสมัครใจแต่เนิ่นๆได้อย่างไร ทั่วโลกจึงมีการคิดหาวิธีต่างๆ ทีจะทำให้ประชาชนทั่วไป มีีความตระหนักและเข้าถถึงการตรวจเอชไอวี มากขึ้น
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้มีีความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของการป้องกันและเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลให้รับรองการเข้าถึงการตรวจเอชไอวีของประชาชน
2.เพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าและเทคโนโลยีล่าสุดในการตรวจวินิฉัยดูแลรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ของโรคเอดส์ได้อย่างถูกต้อง
3.เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลล่าสุดในการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ชนิดต่างๆ ตลอดถึงผลข้างเคียงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นแลการบำบัดรักษาผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
คุณณัฐภา Tel : 02 652 3040, 02 255 7334-5 Email : natthapa.p@hivnat.org