การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมระบบมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๑๗ การตรวจติดตามคุณภาพภายในและการแก้ไขข้อบกพร่อง
ชื่อการประชุม โครงการอบรมระบบมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๑๗ การตรวจติดตามคุณภาพภายในและการแก้ไขข้อบกพร่อง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-2-000-017-06-2567
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมไมด้า จังหวัดนครปฐม (On-site) และผ่านโปรแกรม zoom (On-line)
วันที่จัดการประชุม 24 -25 มิ.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร, ผู้สนใจทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ระบบมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๑๗ เป็นมาตรฐานสากลที่รับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการ ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๑๗ ประโยชน์ของการทำระบบมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๑๗ คือ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ประชาชนได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ การเพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือในรายงานผลการทดสอบที่ออกโดยห้องปฏิบัติการ การส่งเสริมการส่งออก ลดการกีดกันทางการค้าอันเนื่องจากวิธีทดสอบ อีกทั้งการมีระบบการบริหารจัดการที่ดีมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร ระบบมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๑๗ ครอบคลุมทั้งด้านบริหารคุณภาพและด้านวิชาการ อันได้แก่ ข้อกำหนดทั่วไป (ความเป็นกลาง และการรักษาความลับ) ข้อกำหนดด้านโครงสร้าง ข้อกำหนดด้านทรัพยากร (บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวกและภาวะแวดล้อม เครื่องมือ การสอบกลับได้ทางมาตรวิทยา ผลิตภัณฑ์และบริการจากภายนอก) ข้อกำหนดด้านกระบวนการ (การทบทวนคำขอ ข้อเสนอการประมูลและข้อสัญญา การเลือก การทวนสอบและการตรจสอบความใช้ได้ของวิธี การชักตัวอย่าง การจัดการตัวอย่างทดสอบหรือสอบเทียบ บันทึกทางด้านวิชาการ การประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด การสร้างความมั่นใจในความใช้ได้ของผล การรายงานผล ข้อร้องเรียน งานที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด การควบคุมข้อมูลและการจัดการสารสนเทศ) และข้อกำหนดด้านระบบการบริหารงาน (เอกสารระบบการบริหารงาน การควบคุมเอกสารระบบการบริหารงาน การควบคุมบันทึก การปฏิบัติการเพื่อจัดการความเสี่ยงและโอกาส การปรับปรุง การปฏิบัติการแก้ไข การตรวจติดตามคุณภาพภายใน การทบทวนการบริหาร) อีกทั้งการตรวจติดตามคุณภาพภายในเป็นข้อกำหนดหนึ่งในมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๑๗ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าห้องปฏิบัติการมีการักษาการบริหารงานทั้งทางด้านระบบบริหารคุณภาพและด้านวิชาการอย่างมีคุณภาพ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจติดตามและผู้ถูกตรวจติดตามจึงควรมีความรู้และความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการตรวจติดตาม บทบาทและพฤติกรรมที่มีผลต่อการตรวจติดตาม ลักษณะการตรวจติดตาม การวางแผนการตรวจติดตาม การเขียนรายงานการตรวจติดตาม และหลักเกณฑ์การตัดสินข้อบกพร่องที่พบในแต่ละกิจกรรม รวมทั้งการแก้ไขข้อบกพร่อง กระบวนการแก้ไขข้อบกพร่อง ได้แก่ การวิเคราะห์หาสาเหตุ การปฏิบัติการแก้ไขความบกพร่อง และการป้องกันไม่ให้เกิดความพร่องซ้ำ
ดังนั้นการอบรมนี้จึงเหมาะกับผู้ที่สนใจในระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๑๗ และการตรวจติดตามคุณภาพภายในและการแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจและนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในระบบมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๑๗
๒. เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจด้านการตรวจติดตามคุณภาพภายในตามระบบมาตรฐาน ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๑๗ และการแก้ไขข้อบกพร่อง
๓. เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการนำระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ISO/IEC ๑๗๐๒๕ : ๒๐๑๗ ไปปฏิบัติใช้งานจริง
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ศูนย์เครือข่ายสารสนเทศ ประชานาถ ติดต่อคุณกัลยา อรวิเชียร 0899183921